Tuesday, April 15, 2014

ปัญหาอาชญากรรม credit ขายอาหารเสริม


รูปตัวอย่าง อาหารเสริม

ปัจจุบันปัญหาสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ เกิดปัญหาขึ้นในสังคมหลายๆด้าน เช่น ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาทางสังคม เป็นต้น ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เกิดภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ราคาน้ำมันแพง เครื่องอุปโภคบริโภคแพงขึ้น บริษัทแต่ละบริษัทขาดทุนเริ่มปิดตัวลง เกิดปัญหาคนตกงานเพิ่มมากขึ้น ส่วนปัญหาทางสังคมจะขอยกปัญหาทางครอบครัว ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากความยากจนและยังมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจเข้ามาซ้ำเติม ทำให้การหาเลี้ยงชีพประสบกับปัญหา ประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานคร ในช่วงที่เศรษฐกิจที่เป็นแบบนี้ทำให้ปัญหาอาชญากรรมก่อตัวเพิ่มมากขึ้น ประชาชนบางกลุ่มมีความคิดเปลี่ยนไปเริ่มคิดว่า การหาเงินโดยสุจริตหาได้ยาก แต่ถ้าปล้น ชิงทรัพย์ ลักขโมย หาได้ง่ายกว่า ซ้ำยังมีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดด้วย ทำให้เยาวชนที่ติดยาต้องการหาเงินไปซื้อยา โดยทำทุกวิถีทาง เช่น ลักขโมย ปล้น ชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ เป็นต้น เพื่อที่จะได้เงินมาเพื่อตอบสนองความสุขของตนเอง ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้สังคมไทยปัจจุบันมีข่าวเกี่ยวกับอาชญาผ่านทางสื่อๆมาให้เห็นบ่อยๆ ซึ้งเป็นปัญหาที่ร้ายแรงมากนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นชุมชนก็มีส่วนเหมือนกัน เนื่องจากชุมชนไม่เข้มแข็ง ไม่ช่วยหันสอดส่องดูแล ก็เกิดเหตุอาชญากรรมขึ้นได้ ไไไ อาหารเสริม ไไไไ

ADD  ขายอาหารเสริมราคา 

หัวข้อประเด็นที่น่าสนใจ (((ขายอาหารเสริม)))

สาเหตุของปัญหาสังคม                                                  
ปัญหาอาชญากรรม                                                      
ประเภทอาชญากรรม                                                                                        
                อาชญากรรมพื้นฐาน :: อาหารเสริม                                                                          
                อาชญากรรมต่อมาตรฐานศีลธรรม | อาหารเสริม                   
                อาชญากรรมคอเชิ้ตขาว                                        
                อาชญากรรมโดยความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่าย            
                อาชญากรรมการเมือง                                          
                องค์การอาชญากรรม                                           
สาเหตุปัญหาอาชญากรรม   ไไไ ขายอาหารเสริม ไไไ                                             
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรม                                   
          อายุกับอาชญากรรม                                            
                เพศกับอาชญากรรม                                            
                ชนชั้นทางสังคมกับอาชญากรรม                                                 
                กลุ่มชาติพันธุ์กับอาชญากรรม                                 
                ต้นทุนของอาชญากรรม                                        
ผลเสียจากอาชญากรรม                                                  
ผลกระทบจากปัญหาอาชญากรรม                                       
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา                                
แนวทางการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                     
แนวทางการแก้ปัญหาภายในประเทศ    ไไไ ขายอาหารเสริม ใใใ             

ปัญหาสังคม ((ขายอาหารเสริม))

ปัจจุบัน ปัญหาสังคม ทวีความรุนแรงมากขึ้นๆ ปัญหาเดิมรัฐก็ยังไม่คิดป้องกัน ปราบปราม แก้ไขให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังให้หมดสิ้นไป มิหนำซ้ำปัญหาใหม่ๆกลับเกิดขึ้นเรื่อยๆ เช่น การสืบเนื่องจากรัฐบาลกู้เงินจากต่างชาติจำนวนมหาศาล จำต้องรีดภาษีไปส่งเจ้าหนี้ ทั้งต้นและดอก เป็นเหตุให้ปัญหามิติต่างๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง         
                ในสังคมหนึ่งๆ บางครั้งอาจจะไม่มีปัญหาสังคมปรากฏหรือเกิดขึ้นเลย แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าสังคมนั้นเป็นสังคมอุดมคติที่มีความเป็นระเบียบ คนในสังคมมีคุณธรรมสูง ในทางตรงข้าม ถ้าดูตามข้อเท็จจริงสังคมนั้นจะต้องมีปัญหาบางประการแอบแฝงอยู่ แต่ปัญหาที่มีนั้นมิได้ปรากฏออกมาให้เห็นชัดเจน // ขายอาหารเสริม

สาเหตุของปัญหาสังคม |ขายอาหารเสริม
        นักสังคมวิทยาเองต่างก็มีความเห็นต่างๆกันว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสังคมความเห็นเหล่านี้มีทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน ในการหาสาเหตุปัญหาสังคม เราอาจจะมองเปรียบเทียบกับการหาสาเหตุของโรคต่างๆได้
                การหาสาเหตุของสังคมก็เช่นเดียวกัน จะเห็นว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนสัมพันธ์กัน แต่บางครั้งก็ไม่อาจเห็นชัดหรือทราบได้แน่นอน  ดังนั้น การจะเข้าใจถึงปัญหาสังคมจะสนใจเฉพาะสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ ต้องตรวจสอบสาเหตุในหลายๆด้าน เพราะอาจมีสาเหตุหลายอย่างเกี่ยวโยงกันจนทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นได้ การพิจารราสาเหตุปัญหาของสังคม อาจพิจารณาได้ 3 ทางด้วยกัน
                1.การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Socail change)
                2.การเสียระเบียบหรือความไม่เป็นระเบียบในสังคม (Socail disorganization)
                3.บุคลิกภาพ(Personality) หรือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

ปัญหาอาชญากรรม (Crime prolems)
                ปัญหาอาชญากรรมเป็นปัญหาที่คุกคามสวัสดิภาพ ความสงบเรียบร้อย ความผาสุก หรือความสงบสุขของประชาชนในสังคมไทยอย่างมาก คดีอาชญากรรมมีความสัมพันธ์กับความยากจนของประชาชน ความเหลื่อมล้ำหรือช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมของบุคคล และระหว่างเมืองกับชนบท แนวนิยมวัตถุนิยมที่เพิ่มขึ้นและสมรรถภาพของเจ้าหน้าที่ในการป้องปรามผู้กระทำผิดที่พัฒนาโดยเร็ว จนกลายเป็นสังคมเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา
                อาชญากรรม คือ การกระทำความผิดอาญา และผู้ที่กระทำจะต้องได้รับโทษทางกำหมาย การกระทำผิดอาญา อาจผิดเพราะกระทำหรืองดเว้นไม่กระทำก็ได้ เช่น ฆ่าคนตาย ลักทรัพย์ ไม่เสียภาษี ไม่ยอมรับการเกณฑ์ทหาร เป็นต้น ซึ่งโทษที่รับจะมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าเป็นสถานใด ซึ่งผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษหนัก เช่น ประหาชีวิต จำคุก กักขัง ริบทรัพย์ ปรับ เพราะสังคมถือว่าเป็นการกระทบกระเทือนต่อสวัสดิภาพของสังคม
             ปัญหาหนึ่งซึ่งได้เห็นอยู่แทบไม่เว้นแต่ละวันก็เห็นจะได้แก่ ปัญหาอาชญากรรม  ในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง  ปัญหาอาชญากรรม นั้น หากมีมากในสังคมใดสังคมนั่นย่อมมีแต่ความปั่นป่วน วุ่นวาย ความสงบสุขของสังคมนั้นย่อมไม่มี ประชาชนในสังคมนั้นย่อมขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลักษณะของสังคมเช่นนี้เราเรียกว่า สังคมตามยถากรรม
               หากเราพูดกันในระดับ รัฐ เราก็แบ่งรัฐออกเป็น 2 แบบ คือ รัฐสวัสดิการ  ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า เวลแฟร์ สเตต (Welfare State) และ รัฐตามยถากรรม เรียกว่า เลซเซอร์ แฟร์ สเตต” (Laissez faire State)
              รัฐสวัสดิการ  หมายถึง  ประเทศที่มีการปกครองและการบริหารบ้านเมือง ทำให้ประชาชนมีสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สิน  จะเคลื่อนไหวไปมาไหนก็มีความปลอดภัยไม่ต้องเสี่ยงภัยตามยถากรรม การดำรงชีวิตประจำวัน รัฐบาลมีค้ำประกันในด้านปัจจัย 4 อันเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตกล่าวคือ
               -รัฐจะรับผิดชอบให้ประชาชนพลเมืองมีอาหารการกินอย่างเพียงพอแก่การดำรงชีวิต
               -รัฐจะรับผิดชอบให้ประชาชนพลเมืองมีเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มโดยทั่วถึงกันไม่ขาดแคลน
               -รัฐจะรับผิดชอบให้ประชาชนพลเมืองมีที่อยู่อาศัยหลับนอนทั่วถึงกันทุกคน ไม่ต้องนอนข้างถนน  
               -รัฐจะรับผิดชอบให้การรักษาพยาบาล เมื่อประชาชนเกิดมีโรคภัยไข้เจ็บ โดยบริการให้ทั่วถึงกัน และพร้อมกันนี้รัฐจะรับผิดชอบในความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองทั้งมวลด้วย ส่วน รัฐตามยถากรรม นั้น เป็นไปในทางตรงกันข้าม คือ
               รัฐไม่รับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น พลเมืองของรัฐจะมีกินหรือไม่มีกินก็ได้ ถึงฤดูหนาวอาจพบประชาชนนอนหนาวตายอยู่ที่ไหนก็ได้ ขณะเดียวกันผู้คุมอำนาจรัฐและพวกพ้องจะมีความอบอุ่นอยู่รอดปลอดภัยใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย หรูหราและสะดวกสบาย
                ใครไม่มีที่อยู่อาศัยก็ต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง   อาจต้องนอนตามสถานีรถไฟ สะพานลอย เป็นต้น เมื่อถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หากไม่มีเงินรักษาพยาบาลอาจต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับความเจ็บไข้เป็นระยะเวลายาวนาน และเสียชีวิตเร็วกว่าที่ควรจะเป็น
                 ที่สำคัญซึ่งควรสังเกตก็คือ ทุกวันนี้ประเทศไทยจัดเป็น รัฐแบบไหน กันแน่ เป็น รัฐสวัสดิการ หรือ รัฐตามยถากรรม
                 รัฐสวัสดิการ มักเป็นรัฐที่กาลังพัฒนาหรือพัฒนาแล้ว ส่วน รัฐตามยถากรรม มักเป็นรัฐด้อยพัฒนาทั้งหลาย  ประชาชนไม่มีสวัสดิภาพในการดำรงชีวิต ไม่มีมาตรการป้องความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน     
ทุกวันนี้ คนไทยกำลังเผชิญกับปัญหาอาชญากรรมอย่างหนักทีเดียว เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ
1.             ปัญหาอาชญากรรมที่กระทำต่อชีวิตและทรัพย์ ทุกวันนี้ไม่ว่าเราจะอยู่บ้าน หรือเดินทางไปไหนก็ตาม  ปัญหาอาชญากรรมจะติดตามอยู่แทบทุกฝีก้าว นอนอยู่ที่บ้านก็อาจถูกชิงทรัพย์แล้วฆ่าในวันไหนก็ได้ ยิ่งต้องเดินทางยิ่งไม่มีความปลอดภัยเอาเลย
2.             หากเป็นผู้หญิง อาจถูกข่มขืน แล้วฆ่าชิงทรัพย์ในเวลาเดียวกัน วันใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นเวลาอยู่บ้านหรือเวลาเดินทาง
3.             เพียงมองหน้ากันในลักษณะที่เรียกว่า สายตาไม่ต้องกัน เท่านั้นก็ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นได้
              ในสมัยก่อนเรามักพูดกันว่า ปัญหาอาชญากรรมเกิดจากความประมาท การไม่ระวังตัว เกิดจากความยากจนข้นแค้น และเกิดจากความไม่เอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
               แต่ทุกวันนี้ ไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว ทั้งๆ ที่ระมัดระวังตัวอยู่เสมอ อาชญากรหาลู่ทางประกอบอาชญากรรมได้ ทั้งๆที่ต่างคนต่างก็ร่ำรวย ก็หาทางฆ่ากันได้ และทั้งๆ ที่จัดเจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครองอย่างดี เจ้าหน้าที่เองก็ยังเจอปัญหาอาชญากรรมได้
                ประเทศไทยจัดเป็นประเทศหนึ่งที่มีปัญหาอาชญากรรมมากที่สุดเกือบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นประเภทลักขโมย ฉกชิงวิ่งราว จี้ปล้น จับตัวไปเรียกค่าไถ่ ข่มขืนแล้วฆ่า ประทุษร้ายกันและกัน เมื่อเกิดความไม่พอใจกันและวางเพลิง ล้วนมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในทุกมุมเมืองของไทย ทั้งๆที่ประเทศไทยมีเศรษฐกิจดีพอสมควรแก่ฐานะในภูมิภาคนี้ ไม่ได้เป็นประเทศที่ยากจนข้นแค้นแต่ประการใด ดังนั้นปัญหาด้านเศรษฐกิจคงจะไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมชุกชุมเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากสาเหตุอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น
            1.  สาเหตุจากทางการเมืองการปกครอง  เวลานี้เรามีการปกครองในระบบประชาธิปไตยโดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไปเลือกผู้แทนด้วย ระบบซื้อเสียงขายเสียง อันเป็นต้นเหตุที่ทำให้ไม่ได้คนดีที่แท้จริงมาปกครองบ้านเมือง การดูแลบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยปลอดปัญหาอาชญากรรมเหมือนบางสมัย จึงไม่อาจมีได้
 2. ปัญหาคอร์รัปชัน  ก็เป็นเหตุสำคัญของปัญหาอาชญากรรม หากบ้านเมืองเต็มไปด้วยคนคด  คนโกงและคนเห็นแก่ได้โดยมิชอบธรรม ปัญหาอาชญากรรมย่อมเกิดขึ้นอย่างมากมายเป็นแน่แท้ซึ่งเราอาจพูดสั้นๆได้เลยทีเดียวว่า ถ้ามีการโกงกินกัน มีการคิดคดทรยศหักหลังกันมากในที่สุด ปัญหาอาชญากรรมย่อมมีมากในที่นั้นอย่างแน่นอน และ
             3.  ปัญหาสังคมเสื่อมโทรม  ก็เป็นต้นเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ทุกวันนี้สังคมไทยเราเกิดภาวะเสื่อมโทรมลงมาก เนื่องจากเรายอมรับเอาวัฒนธรรมประเพณีที่ไม่ดีไม่งามเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมประเพณีที่ไม่ดีไม่งามของไทยเรา


ประเภทของอาชญากรรม
                จากการศึกษาในประเทศต่างๆส่วนใหญ่จะมีการจักประเภทอาชญากรรมใกล้เคียงกัน แต่มีการจักประเภทแตกต่างกันบ้างตามแต่ละบริบทวัฒนธรรม ซึ่งส่วนที่แตกต่างกันนั้นมักจะเป็นความผิดตามที่กกหมายของสังคมนั้นๆ กำหนดขึ้นในลักษณะของ mala prohibita มากกว่าจะเป็นอาชญากรรมประเภท mala in se สำหรับการจัดจำแนกประเภทอาชญากรรมที่กล่าวถึงในที่นี้จะใช้วิธีการจัดจำแนกตามแนวทางของหน่วยตำรวจสอบสวนกลาง (Federal Bureau Investigation หรือ FBI) ประเทศสหรัฐเป็นแนวทางหลัก เนื่องจากมีลักษณะที่กว้างขวาง ครอบคลุมบริบทประเภทอาชญากรรมในสังคมทั่วไป รวมทั้งสังคมไทยได้ครบถ้วน หน่วย เอฟ บี ไอ ได้จำแนกประเภทอาชญากรรมไว้ 6 ประเภท
                1.อาชญากรรมพื้นฐาน (traditional street crimes)
                2.อาชญากรรมต่อมาตรฐานทาวศีลธรรม (crimes against the moral order)
                3.อาชญากรรมคอเชิ้ตขาว (white collar crime)
                4.อาชญากรรมโดยความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่าย (corporate crime)
          6.อาชญากรรมการเมือง (organized crime)
อาชญากรรมแต่ละประเภทสามารถวิเคราะห์รายละเอียดได้ดังนี้
อาชญากรรมพื้นฐาน(traditional street crimes)
          อาชญากรรมพื้นฐาน หรืออาชญากรรมพื้นบ้าน หรืออาชญากรรมท้องถนนทั่วไป เป็นอาชญากรรมที่ทั้งประเภทตำรวจ นโยบายของรัฐ และสื่อมวลชนให้ความสนใจ ได้แก่ ลักทรัพย์วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ย่องเบา ข่มขืน ทำร้ายร่างกาย และฆ่า มักเป็นอาชญากรรมที่ประสงค์ต่อทรัพย์หรือต่อชีวิตร่างกาย
                ผู้ประกอบอาชญากรรมเหล่านี้มักจะเป็นผู้ที่อยู่ชายขอบของสังคม (marginal man) ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ กลุ่มคนยากจน การศึกษาต่ำ ว่างงาน จรจัด และเป็นชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มชาติพันธุ์ของสังคม เช่น กลุ่มชาติพันธุ์พม่าในไทย ชาวมุสลิม ชาวภูไท เป็นต้น
                ในการประเมินอาชญากรรมประเภทนี้ พบวาเกิดจากอาชญากร 2 รูปแบบ คือ
1.      อาชญากรรมติดนิสัย หรืออาชญากรรมมืออาชีพ หมายถึง อาชญากกรมผู้อาศัยการประกอบอาชญากรรมเพื่อดำรงชีพในลักษณะรูปแบบต่างๆ เช่น นักฉวยทรัพย์ในห้างสรรพสินค้า นักล้วงกระเป๋าในที่ชุมชน นักตัดช่องย่องเบาในเคหสถาน อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ปรากฏว่ามีพฤติกรรมกระทำผิดอย่างต่อเนื่องในรูปแบบเดี่ยวกัน และเป็นผู้กระทำมากที่สุด เมื่อเทียบกับอาชญากรรมประเภทอื่นๆ
2.      อาชญากรรมกระทำผิดครั้งเดียว คือ กระทำผิดเนื่องจากเหตุบังเอิญหรือไม่มีเจตนากระทำผิด เช่น ขับรถชนคนตายโดยประมาท เป็นกลุ่มที่ไม่สมควรถูกลงโทษอย่างรุนแรง ควรใช้วิธีบำบัดแก้ไขปัญหาฟื้นฟูในชุมชน เช่นวิธีการควบคุมพฤติกรรม หรือการทำงานบริการสังคม
                นอกจากนี้อาชญากรรมพื้นฐานยังแบ่งการพิจารณาได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่กระทำต่อเหยื่อในลักษณะที่รุนแรง (violence crime or grave crime ) และอาชญากรรมที่มีลักษณะไม่รุนแรง (non- violence crime )  
                อาชญากรรมที่มีความรุนแรงเฉพาะรูปแบบ ยังจำแนกได้ดังนี้
                1.ฆาตกรรม (criminal homicide) คือ การกระตุ้นให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยตั้งใจ (murder) หรือโดยมิได้ไตร่ตรองไว้ก่อนแต่อาจเป็นเพาระอารมณ์โกรธจัดขณะทะเลาะกัน (manslaughter) หรือเพราะประมาทหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และฆาตกรรมที่กระทำต่อ   อาชญากรโดยเจ้าพนักงานเป็นผู้กระทำเนื่องในการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ซึ่งเรียกว่า วิสามัญฆาตกรรม (justifiable homicide)
               
2.การทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัส (assault) คืออาชญากรรมที่กระทำต่อชีวิตร่างกายรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เหยื่อบาดเจ็บสาหัสหรือพิการทั้งกายและจิต ซึ่งการทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัสมีทั้งแบบที่เกิดจากความไร้ระเบียบของสังคม (anomie) เนื่องจากที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมแออัด สกปรก ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้คนเกิดความตึงเครียด และแบบทรี่เกิดจากปัจจัยทางจิตใจ อันเป็นผลจากประสบการณ์ทางสังคม ทำให้บุคคลรู้สึกมุ่งร้ายต่อผู้อื่น ขาดมุทิตาจิต ต่อเหยื่ออาชญากรรม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว คือ พ่อ แม่ พี่ น้อง คู่สมรส บุตร รวมทั้งบุคคลอื่นๆที่อยู่นอกครอบครัวก็ตาม ส่วนวิธีการทำร้ายก็แต่ยิง แทง เตะ ต่อย ตบตี ทำให้พิการ ใช้ยาพา ใช้น้ำกรดสาด ตีด้วยไม้กอล์ฟ เป็นต้น ซึ่งเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมทารุณมากที่สุด โดยฆาตกรต้องเมินเฉยต่อคำวิงวอนของเหยื่อและภาพความเจ็บปวดของเหยื่อที่ปรากฏขณะกระทำความผิด และบ้างก็กระทำไปด้วยฤทธิ์ของโทสจริต
               
3.การข่มขืนกระทำชำเรา (forcible rape) เป็นอาชญากรรมทางเพศที่อาจเกิดขึ้นจากครอบครัว คนรัก คนรู้จักกัน รวมทั้งคนแปลกหน้า กระทำชำเราเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่มีความรุนแรงที่สุดในบรรดาอาชญากรรมทางเพศ (sexual offense) เนื่องจากสภาวะดังกล่าวเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราหรือ เหยื่ออาชญากรรม (crime victim) ไม่คาดคิดมาก่อนหรืออยู่ในสภาพจำต้องยอมให้ถูกกระทำ และผลจากการกระทำอาชญากรรมดังกล่าวได้ทำลายเหยื่ออาชญากรรมทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงร้าวลึกและแฝงใจจำ ด้วยการใช้กำลังบังคับทางกายและการบีบบังคับทางจิตใจ ทั้งพฤติกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดความวิตกกังวลหวาดหวั่น น่าสะพรึงกลัว และรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย ไม่ไว้วางใจแก่ผู้คนในสังคมทุกครั้งที่มีข่าวอาชญากรรมทางเพศในเรื่องของการข่มขืนกระทำชำเราเกิดขึ้น
          อย่างไรก็ตาม การที่ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อของการถูกข่มขืนในทุกสังคม แม้แต่ในสังคมอเมริกันที่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานเป็นการกระทำที่ยอมรับได้ ก็ยังเป็นเรื่องที่ส่งผลเสียหายและต้องห้ามเมื่อผู้หญิงไม่ยินยอม ด้วยเหตุนี้ ท่ามกลางสภาพความเชื่อของสังคมไทยที่สร้างค่านิยมให้ผู้หญิงรักนวลสงวนตัวและครองตนให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะแต่งงานมีครอบครัวนั้น หากผู้หญิงถูกข่มขืนย่อมทำให้เกิดความรู้สึกเสียหายร้ายแรงมากยิ่งขึ้นในความรู้สึกของคนในสังคมแห่งนี้ โดยการข่มขืนนั้นจะมีหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบตัวต่อตัว โทรมหญิง ฆ่าข่มขืน ข่มขืนภายในครอบครัว และข่มขืนคู่สมรส

          4.การปล้น (robbery) การปล้นหรือการโจรกรรมเป็นอาชญากรรมที่ประสงค์ต่อทรัพย์ โดยใช้วิธีการที่อุกอาจ รุนแรง ใช้กำลังหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง ซึ่งมีก่อให้เกิดความบาดเจ็บและตายตามมา การปล้นตามกฎหมายไทยจัดว่าเป็นอุกฉกรรจ์ ผู้ปล้นประกอบด้วยคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ใช้อาวุธ และตามกฎหมายเป็นความผิดที่มีโทษถึงประหารชีวิต
                นักอาชญากรรมวิทยาวิเคราะห์ว่า เหตุที่การปล้นมักจะดำเนินไปโดยใช้กำลังและกระทำด้วยอาวุธ เนื่องจากอาวุธทำให้เกิดความมั่นใจว่าเป้ต่อใช้ข่มขู่เหยื่อ เพื่อควบคุมเหยื่อและสถานการณ์ และเพื่อให้เกิดความแน่ใจการหลบหนี ส่วนโจรผู้ทำการปล้นมีทั้งนักปล้นอาชีพ ปล้นตามโอกาส และปล้นเพราะติดสิ่งเสพติดทำให้ขาดสติ หรือเพื่อนำทรัพย์สนเงินทองที่ได้จากการปล้นมาซื้อสิ่งเสพติดที่ตนติดอยู่เสพ

                5.การย่องเบา (burglar) เป็นอาชญากรรมที่ประสงค์ต่อทรัพย์ในลักษณะไม่รุนแรง แต่โดยการบุกรุกเข้าไปขโมยสิ่งของในสถานที่ต่างๆ โดยผิดกฎหมาย ซึ่งมีอัตราความถี่ในการกระทำผิดสูง สูญเสียทรัพย์มากที่สุด และยากแก่การควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่อาจควบคุมได้ดีกว่าถ้าเจ้าของทรัพย์อาศัยความระมัดระวังรอบคอบในการป้องกันตนเองและทรัพย์สินจากอาชญากรรม หรือโดยร่วมมือกับเพื่อนบ้านเตือนภัยให้แก่กัน นักย่องเบามืออาชีพจะรู้ว่าของมีค่าอยู่ตรงไหนทั้งมีความเชื่อมั่นว่าการย่องเบาได้ของจำนวนมากแต่ลำบากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น พวกนี้ไม่ค่อยมีความมุ่งร้ายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่นิยมใช้ความรุนแรง อาศัยช่องโอกาสหรือความเผอเรอของเหยื่อ โดยเหยื่อมักไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ร้าย

          6.การฉกฉวยทรัพย์สินในห้างสรรพสินค้า (shoplifting) การลักทรัพย์ในห้างทรัพย์สินค้าเป็นการประกอบอาชญากรรมตามโอกาสที่เอื้ออำนวยให้กระทำ โดยไม่ต้องใช้กำลังหรือทำให้เหยื่อเกิดความกลัวแต่ประการใด
                7.การลักขโมยยานยนต์ การลักขโมยยานยนต์ ซึ่งหมายถึง การขโมยยานยนต์และรถจักรยายนต์ เป็นอาชญากรรมรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 นี้เอง การลักขโมยดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ คือ ประเภทที่กระทำไปเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินชั่วครู่ชั่วยาม หรือเพื่ออวดโชว์ความสามารถในการประพฤติแผลงๆของตนในกลุ่มเพื่อน ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นไม่เกิน 25 ปี และประเภทที่ลักขโมยเป็นอาชีพ เพื่อนำไปขาย โดยมีนายทุนและอู่ซ่อมรถยนต์ที่รับซื้อของโจร อำนวยความสะดวกด้านเครื่องไม้เครื่องมือและด้านการเงิน สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันมีปัญหาการลักขโมยรถยนต์เพื่อนำไปดัดแปลงสภาพและนำไปขายต่อตามใบสั่งซื้อที่ระบุรุ่น สี และยี่ห้อ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดเก็บสถิติคดีการลักขโมยยานยนต์ว่าเป็นอาชญากรรมที่อยู่ใน กลุ่มคดีที่น่าสนใจ

อาชญากรรมต่อมาตรฐานทางศีลธรรม (crimes against the moral order)
                เพื่อเป็นการรักษาระดับมาตรฐานทางศีลธรรมของคนในสังคมส่วนรวม การกระทำบางอย่างจึงถูกกำหนดว่าเป็นการกระทำผิด การแสดงพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งเป็นบรรทัดฐานของสังคม จึงเป็นอาชญากรรมต่อมาตรฐานทางศีลธรรมอันดีงามของสังคม อาชญากรรมชนิดนี้ เช่น การเล่นการพนัน การเสพยาเสพติด การทำแท้ง การค้าประเวณี ฯลฯ ซึ่งเป็นการทำที่สั่นคลอนมาตรฐานทางศีลธรรมทั้งนี้เนื่องจากกระทำพฤติกรรมนี้แม้จะมีผู้คนกระทำผิดเป็นจำนวนมาก แต่มิได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น ซึ่งฝ่ายที่ออกกฎหมายอ้างว่ารัฐมีสิทธิที่จะคุ้มครองรักษาศีลธรรมอันดีงามของประชาชนแห่งรัฐ พฤติกรรมดังกล่าวจึงผิดกฎหมาย
          ถ้าเช่นนั้นมีคำถามเกิดขึ้นว่าปัจเจกบุคคลจะมีสิทธิเลือกที่จะกระทำแบบแผนพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากรูปแบบทั่วไป โดยไม่ต้องกังวลว่าสังคมจะลงโทษ ถ้าพฤติกรรมนั้นไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่คนอื่นในสังคมหรือไม่ คำตอบของคำถามนี้อาจไม่ได้ดังที่ใจคิดไว้ เพราะที่จริงแล้วอาชญากรรมประเภทนี้ ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอาชญากรรมไม่มีผู้เสียหาย หรืออาชญากรรมที่ปราศจากเหยื่อ เนื่องจากอาชญากรหรือผู้กระทำผิดเป็นผู้กระทำให้ตนเองเกิดความเสียหายเองหรือตนเองได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของตนเอง แต่อาชญากรรมประเภทนี้ก็มีส่วนทำร้ายผู้คน
                นอกจากนี้การตรวจค้น จับกุม และดำเนินคดีต่ออาชญากรรมไม่มีผุเสียหายเป็นภาระงานที่ยุ่งยากและใช้เงินทุนสูงซึ่งกว่าร้อยละ 80 ของตำรวจต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองศีลธรรมส่วนบุคคลส่วนบุคคลเหล่านี้ เช่น คดีติดสุรา ยาเสพติด มีและเผยแพร่ภาพลามก เยาวชนหนีออกจากบ้าน ค้าประเวณี เล่นการพนัน ฯลฯ และกว่าครึ่งหนึ่งของหนักโทษในเรือนจำของประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (.. 2534 – 2547) เป็นนักโทษคดียาเสพติด
                เช่นเดียวกันกับที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เคยประสบปัญหาอาชญากรรมประเภทอาชญากรรมไม่มีผู้เสียหาย ซึ่งจำนวนมากถึง

ร้อยละ 49 ของคดีที่ถูกจับกุมทั้งหมดมาแล้วตั้งแต่ปี ค..1970 (..2513) และได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อหามาตรการหันเหคดีดังกล่าวออกจากกระบวนการยุติธรรมไปแล้วในสองปีต่อมาพยายามให้สังคมแยกแยะพฤติกรรมเบี่ยงเบนอกจากพฤติกรรมอาชญากรรม (soper,1978)  เช่นเดียวกับไทยที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจากงานวิจัยของจุฑารัตน์ เอื้ออำนวย (2542) พบว่าคดียาเสพติด คดีหลบหนีเข้าเมืองและการพนัน เป็นคดีที่ขึ้นสู่ศาลในปริมาณที่สูงเป็นสามอันดับแรก และจากการพยากรณ์แนวโน้มคดีอาญาทั่วราชอาณาจักรซึ่งขึ้นสู่ศาลชั้นต้นระหว่างปี พ..2541-2550 พบว่าคดีความจะค่อยๆเพิ่มขึ้นจาก 575,417 คดี เป็น 976,520 คดี คือ เพิ่มขึ้นประมารร้อยละ 81.1 ของคดีเมื่อสิ้นปี พ.. 2540 (ซึ่งมีคดีอาญาขึ้นสู่ศาลชั้นต้นจำนวน 539,026 คดี) ประเภทคดีที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นมากที่สุด คือ คดีความผิดพระบัญญัติยาเสพติดให้โทษทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค รองลงมาได้แก่ คดีความผิดพระราชบัญญัติ และคนเข้าเมืองและคดีความผิดพระราชบัญญัติการพนัน ตามลำดับ ซึ่งเป็นคดีที่รัฐกำหนดว่า เป็นความผิด ทั้งยังเป็นอาชญากรรมประเภทที่เรียกว่าอาชญากรรมไม่มีผู้เสียหายและเมื่อนำปริมาณคดีความผิดทั้งสามประเภทมารวมกัน จะมีจำนวนมากถึง 637,066 คดี หรือคิดเป็นร้อยละ 65.3 ของคดีอาญาที่ขึ้นสู่ศาลชั้นต้นในปีพ..2550 หมายความว่าศาลชั้นต้นทั่วราชอาณาจักรจะต้องใช้ทรัพยากรบุคคล เวลา และเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหลายกว่าครึ่งหนึ่งเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรรมไม่มีผู้เสียหายเหล่านี้
                ยิ่งกว่านั้นตัวเลขคดีอาญาที่ขึ้นสู่ศาลชั้นต้นดังกล่าว ยังฉายภาพให้เห็นถึงภาระงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมซึ่งมีเครือข่ายการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันอยู่ทั้งระบบว่า จะต้องได้รับผลกระทบจากปริมาณและประเภทคดีดังกล่าวเช่นเดียวกันในลักษณะลูกโซ่โดยหน่วยงานตำรวจจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะเป็นด่านแรกของกระบวนการยุติธรรม ถ้าพิจารณาในด้านบุคคลากรจะเห็นว่าพนักงานสอบสวนซึ่งปัจจุบันมีสำนวนคดีในมือมากเกินกว่าการดำเนินการให้แล้วเสร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ยังต้องดำเนินการภายในเวลาอันจำกัดตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหาและความรู้สึกของผู้เสียหายและประชาชนไปพร้อมๆกัน ซึ่งหากปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลเพิ่มมากขึ้นในอัตราร้อยละ 5.3-6.6 ต่อปี ตามที่ได้พยากรณ์ไวในงานวิจัยนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องรับภาระงานในฐานะหน่วยงานต้นทางของกระบวนการมากกว่านี้หลายเท่า ซึ่งคงจะต้องเตรียมการรับมือกับภาระงานดังกล่าว เช่นเดียวกับสำนักงานอัยการสูงสุดและกรมราชทัณฑ์ รวมทั้งกรมการประพฤติ และหน่วยงานบำบัดแก้ไขฟื้นฟูต่างที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ปลายทางของกระบวนการยุติธรรม
                อย่างไรก็ตามผุ้วิจัยเสนอว่า คดีความผิดพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษซึ่งมีปริมารเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นอันดับหนึ่งนั้น  รัฐควรใช้มาตรการจำแนกกลุ่มผู้เสพออกจากกลุ่มผู้จำหน่าย โดยมองว่าการเสพยาเสพติดเป็นพฤติกรรมต่างบรรทัดฐานรูปแบบหนึ่งมากกว่าจะเป็นพฤติกรรมอาชญากรจากนั้นอาจหันเหผู้เสพให้ออกจากระบบงานยุติธรรมเพื่อเข้าสู่ช่องทางของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่ใช้มาตรการบังคับรักษาทำให้คดีความรกโรงรกศาล และลดการสูญสียเวลาและค่าใช้จ่ายสำหรับกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบโดยเปล่าประโยชน์  เนื่องจากคดีเหล่านี้มีอัตราการกระทำความผิดซ้ำสูง และโดยกลไกของกระบวนการยุติธรรมก็ไม่สามรถแก้ไขฟื้นฟูทรัพยากรบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนอันเนื่องมาจากอาการเสพติดทางจิตใจเหล่านี้ได้แต่อย่างใด ขณะเดียวกันรัฐจะได้ใช้ทรัพยากรและอัตรากำลังเพื่อดำเนินการกับกลุ่มผู้จำหน่ายและคดีความอื่นๆที่สมควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมากกว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                นอกจากนี้อาชญากรรมที่ขัดต่อระเบียบศีลธรรมของสังคมเหล่านี้ยังเป็นต้นเหตุของปัญหาการคอรัปชั่นในวงการยุติธรรมอีกด้วย ในคดีฆาตกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ ตำรวจมักไม่เต็มใจรับเงินมากนัก  แต่ในคดีอาชญากรรมที่ไม่มีผู้เสียหายเหล่านี้กลับสะดวกใจที่จะรับเงินมากกว่าเพราะเขาเชื่อว่าผู้กระทำผิดเหล่านี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ รวมทั้งเป็นหนทางให้คนในองค์การอาชญากรรมซื้อช่องทางออกจากระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนต่างๆได้อีกด้วย  หากมีการพลากพลั้งต้องโทษจำคุกเกิดขึ้น

อาชญากรรมคอเชิ้ตขาว (white collar  crime)
                อาชญากรรมคอเชิ้ตขาว หมายถึง อาชญากรรมซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ตำแหน่งหน้าที่การงานไม่ว่าในภาคราชการ  รัฐวิสาหกิจ  หรือเอกชน  และได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงานดังกล่าวในทางไม่ชอบเพื่อการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน  ซึ่งในอดีตขอบเขตของอาชญากรรมคอเชิ้ตขาวมุ่งเพียงการแสวงหาประโยชน์ส่วนตนจากตำแหน่งหน้าที่การงาน ของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในลักษณะการทุจริตคอรัปชั่น  แต่ในปัจจุบันขอบเขตความหมายได้ขยายไปครอบคุลมถึงการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบของผู้ดำรงตำแหน่งในภาคเอกชนด้วย  และครอบคลุมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ดำรงตำแห่งในภาคเอกชนกับผู้ดำรงตำแหน่งในภาคราชการในลักษณะต่างตอบแทนผลประโยชน์ซึ่งกันและกันโดยมิชอบ  เช่น การสมยอมในการประมูลโครงการก่อสร้างของรัฐบาลในทุกระดับวงเงิน  เป็นต้น
                ดังนั้นแม้เราจะรู้ว่าอาชญากรรมคอเชิ้ตขาวก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย  แต่เราไม่รู้วงเงินค่าเสียหายชัดเจนนัก  รู้เพียงว่ามีผู้กระทำผิดกี่คนที่กระทำผิดจากการโกงภาษี  โดยจะทราบข้อมูลดังกล่าวต่อเมื่อค้นพบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น  รู้เพียงว่ามีการลักทรัพย์  ยักยอกทรัพย์ของเจ้านายจ้างจำนวนเท่าไร  มีเซลล์แมนกี่คนที่ใช้เล่ห์หลอกลวงทางการค้า  เจ้าของบริษัทคอมพิวเตอร์โกงซอฟต์แวร์โดยผิดกฎหมายเท่าไรและถ้าทราบข้อมูลค่าความเสียหายเหล่านั้นอาจทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าทำไมผู้คนจึงพากันประกอบอาชยากรรมคอเชิ้ตขาวกันมากมาย
                เมื่อพิจารณาอย่างแท้จริงแล้วเราจะเห็นถึงความไม่สอดคล้องเหมาะสมของการที่ใช้กระบวนการยุติธรรม  ซึ่งมีราคาแพงไปพิจารณาคดีที่ไม่สมควร  และทำให้นักโทษล้นคุกแทนที่พิจารณาคดีที่ไม่สมควร  และทำให้คอเชิ้ตขาวเหล่านี้ซึ่งยังให้เกิดความเสียหายมากกว่าหลายร้อยเท่า

อาชญากรรมโดยความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่าย (corporate  crime )
          ในการธุรกิจ  มีอาชญากรรมเกิดขึ้นมากมาย  ซึ่งรู้จักกันในนามของอาชญากรรมซึ่งกระทำโดยหุ้นส่วนบริษัทหรืออาชญากรรมโดยความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่าย  อันได้แก่การกระทำที่ผิดกฎหมายในรูปของการโฆษณาสินค้า   การว่าจ้างแรงงานที่ไม่เป็นธรรม  การบิดเบือนการจัดสวัสดิการเพื่อการป้องกันอุบัติภัย  การควบคุมมลพิษ  การตกลงราคากลาง  การจัดการเรื่องหุ้น  ลิขสิทธิ์  สิทธิบัตร  ปลอมเครื่องหมายการค้า  ทั้งสินค้าประเภทอาหาร  ยารักษาโรค  และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆซึ่งจัดว่าเป็นอาชญากรรมประเภทอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
                บริษัทการค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ อาเชอร์ แดเนียล มิดแลนด์ ถูกพิพากษาว่ามีความผิดฐานสมยอมราคาของผลิตภัณฑ์ของชนิด  ต้องคำพิพากษาลงโทษปรับเป็นเงิน 13.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
                รายงานจากกระทรวงยุติธรรมระบุว่ามีคดีฉ้อโกงเงินประกันชีวิต  ประการสุขภาพ ฯลฯ และมีคดีความขึ้นศาลกว่าปีละ 1,000 พันราย
                แม็คโดแนลถูกปรับเป็นเงิน 500,000 เหรียญสหรัฐ  ฐานทำให้แพนตากอลสำคัญผิดในข้อเท็จจริงของสัญญาที่กระทำต่อกันเป็นเงิน  6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ
                ตัวเลขประมารการระบุว่า  มีคนงานประมาณ 3 ล้านคน ที่ได้รับค่าแรงต่ำกว่ามาตรฐานค่าแรงขั้นต่ำ  โดยเฉพาะคนงานในโรงงานเสื้อผ้าซึ่งได้รับค่าแรงต่ำกว่าที่ควรถึงร้อยละ 43 รองลงมาได้แก่  คนขับรถบรรทุก  พนักงานเสิร์ฟและบริษัทภาพยนตร์ ฯลฯ
                ตัวอย่างเหล่านี้มีประเด็นน่าสนใจ  2 ประเด็นคือ
                ประเด็นแรก  อันเนื่องมาจากบริษัทที่ทำธุรกิจการค้าส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อผลกำไรสูงสุดตามแนวทางทุนนิยม  จึงทำให้เกิดความร่วมมือตัดสินใจโดยไม่พินิจพิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาต่อลูกค้าและลูกจ้าง
          ประเด็นที่สอง  การลงโทษอาชญากรคอเชิ้ตขาวซึ่งระบุความเป็นอาชญากรได้ยาก  แต่ก็ยังสามารถลงโทษผู้กระทำเป็นรายบุคคล  เช่น  จำเลยที่ 1 จำคุกตลอดชีวิต  จำเลยที่ 2 และ 3 กระทำผิด 3 กระทงจำคุก 2 ปี เป็นต้น  แต่อาชญากรรมที่ร่วมกันกระทำผิด  (corporate crime) เหล่านี้ไม่อาจพิพากษาลงโทษเช่นนั้นได้  เพราะเมื่อจำแนกเป็นรายบุคคลแล้วแต่ละบุคคลอาจไม่ได้ทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจน
                อาชญากรรมโดยความร่วมมือของหลายฝ่าย  มีรูปแบบเฉพาะหรือชื่อเรียกเฉพาะที่น่าสนใจได้แก่
                1.อาชญากรรมเศรษฐกิจ (economic crime หรือ business  crime หรือ commerciual crime) อาชญากรรมเศรษฐกิจ  หมายถึง  การกระทำผิดที่ผู้ประกอบอาชญากรรมใช้ความรู้ความสามารถและเทคนิคเฉพาะที่มีความระเอียดอ่อนกระทำการเพื่อมุ่งหวังให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงินเป็นส่วนใหญ่  อันเนื่องมาจากสภาพการแก่งแย่งแข่งขันกันในเชิงธุรกิจ  เพื่อชื่อเสียง  และความมั่งคั่งโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อผู้อื่น  (วีระพงษ์  บุญโญภาส, 2540:25)
                อาชญากรรมทางเศรษฐกิจมีลักษณะที่มีโทษทางอาญาไม่รุนแรงทั้งที่การกระทำนั้นก่อให้เกิดผลเสียหายมหาศาล  แต่เนื่องจากการกระทำผิดมิได้กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพทางร่างกายโดยตรง  จึงไม่เป็นที่รังเกียจต่อสังคม  โทษที่ลงจึงมีเพียงโทษจำคุก  ปรับหรือใช้มาตรการคุมประพฤติ  หรือสั่งให้เลิกกิจการชั่วคราว
                กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ได้กำหนดแนวทางว่า  การกระทำลักษณะใดเข้าข่ายการกระทำอาชญากรรมเศรษฐกิจ  ไว้ดังนี้
(1)    การกระทำความผิดทางภาษีอากร  ได้แก่  การกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรฝ่ายศุลกากร  ฝ่ายสรรพากร  และฝ่ายสรรพสามิต  การกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการบัญชี  กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน  รวมทั้งการกระทำผิดอาญาตามกำหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องภาษีอากรดังกล่าว
(2)     การกระทำความผิดทางการเงินละการธนาคาร การกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเงินการธนาคารที่ธนาคารแห่งประเทศไทย  ธนาคารพาณิชย์  บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์  หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา  และการกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับเงินตราเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน  และการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชา
                การกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการฉ้อโกงโดยเอกสารที่ผ่านทางธนาคารในการส่งสิ้นค้าไปยังต่างประเทศ  การฉ้อโกงด้วยการใช้เอกสารเล็ตเตอร์อ๊อฟเครดิต  หรือเอกสารโอนเงิน  หรือตั๋วแลกเงินระหว่างประเทศปลอม  หรือใช้โดยมิชอบ
การกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการฉ้อโกงในการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการฉ้อโกงด้วยการใช้บัตรเครดิต  บัตรเบิกเงินโดยเครื่องอัตโนมัติ  ตั๋วแลกเงินเดินทางระหว่างประเทศ  หรือการปลอมแปลงเงินตรา
(3)กระทำความผิดการค้าการพาณิชย์  ได้แก่การกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับการฉ้อโกงในการซื้อขายสินค้าจำนวนมาก  การฉ้อ โกงทางการค้าโดยการใช้อุบาย  การฉ้อโกงโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
          การกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการล้มละลายโดยฉ้อฉลหรือการให้  หรือการดอนย้ายถ่ายทรัพย์สินนิติบุคคลโดยมิชอบและการฉ้อโกงบริษัทประกันภัย
                การกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับการปลอมแปลงดวงตราไปรษณียากรหรืออากรแสตมป์  การฉ้อโกง  และปลอมแปลงบัตรโดยสารและพาหนะในการเดินทางหรือเอกสารเดินทาง
                การกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเปิดเผยความลับทางการค้า  และทรัพย์สินทางปัญญา  การละเมิดลิขสิทธิ์ทางวรรณกรรมและศิลปกรรม  และการกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า
                (4) การกระทำความผิดคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมได้แก่ การกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับอาหารและยา  มาตรฐานสินค้าและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  วัตถุมีพิษ  และการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม  การคุ้มครองผู้บริโภคและการกำหนดสินค้าและป้องกันการผูกขาด
          ผลกระทบของอาชยากรรมทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดความเสียหายร้าวลึกและซึมลึกในวงกว้าง  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจที่บางครั้งสั่นคลอนรุนแรง  ทำให้เกิดความไม่มั่นคงต่อระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ  ดังเช่น  วิกฤติเศรษฐกิจที่ไทยและหลายๆประเทศประสบมาแล้วในปี พ.. 2540 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฉ้อโกงเงินผ่านระบบสถาบันการเงินและธนาคารโดยมีผู้กระทำหลบหนีออกนอกประเทศพร้อมเงินตราจำนวนมหาศาล  ขณะที่กระบวนการยุติธรรมยังไม่สามรถจับกุมดำเนินคดีได้  นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสังคม  การเมือง  ความมั่นคงของชาติตามมาเป็นระลอกอีกด้วย
                จะเห็นได้ว่า อาชญากรรมเศรษฐกิจกินวงความหมายกว้างขวางและมีลักษณะการกระทำกฎหมายอาญามากมายหลายฉบับที่เข้าข่ายความผิดดังกล่าวนี้  ผู้เขียนมีความเห็นว่า  อาชญากรรมเศรษฐกิจเป็นนิยามที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ควบคู่กับระบบทุนนิยม  และวัฒนธรรมบริโภคนิยมที่แพร่ระบาดทั่วโลกในปัจจุบัน  ซึ่งมีการให้คำนิยามโดยคำนึงถึงความเสียหาย  หรือความสลับซับซ้อนในการประกอบอาชญากรรมเป็นสำคัญซึ่งองค์ประกอบหนึ่งคือ  การกระทำผิดในคดีอาชญากรรมทามเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ จริยธรรมส่วนบุคคลซึ่งรวมถึงความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่นโดยเฉพาะต่อลูกค้าและคู่สัญญา  หากผู้กระทำไม่คิดคดโกง  ไม่เห็นแก่ประโยชน์ทางวัตถุเงินทองจนละเมิดเกียรติยศ  และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเองแล้ว  อาชญากรรมประเภทนี้ก็ไม่อาจถูกกระทำขึ้นได้
                2.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (computer crime หรือ high technology crime ) มีการให้นิยาม อาชยากรรมคอมพิวเตอร์ไว้ 2 นัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ,2542) คือ
                นัยแรก หมายถึง การกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์และทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย  ในขณะเดียวกันทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับประโยชน์ ในขณะเดียวกันทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับประโยชน์
                นัยที่สอง หมายถึง การกระทำใดๆที่เป็นความผิดทางอายาซึ่งจะต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิด
                ส่วนการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จำแนกเป็น 3 ลักษณะ คือ
(1)  การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
(2)  คอมพิวเตอร์เป็นวัตถุที่ถูกกระทำความผิด
(3)  การใช้คอมพิวเตอร์หาประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต
จากลักษณะทั้งสามสามารถจำแนกประเภทอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
          1.การลักลอบหรือขโมยใช้บริการสารสนเทศเป็นการลักลอบเข้าไปใช้บริการโทรคมนาคม เช่น  โทรศัพท์ของบริษัทโทรศัพท์  บริษัทผู้ให้บริการหรือประชาชนทั่วไป  ทำให้บุคคลดังกล่าวต้องรับภาระค่าบริการ
                2.การใช้อินเตอร์เน็ตในการอำนวยความสะดวกแก่การประกอบอาชญากรรมรูปแบบดั้งเดิม  เช่น  องค์การอาชญากรรมติดต่อซื้อขายยาเสพติดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                3.การละเมิดทรัพย์สินและปัญญา เช่น การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์  การปลอมแปลงสื่อทางคอมพิวเตอร์หรือมัลติมีเดีย
                4.การเผยแพร่สิ่งผิดกฎหมาย เช่น ภาพลามก วิธีการทำระเบิดทางอินเทอร์เน็ต
          5.การฟอกเงิน (money  laundry)ทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(electroni eommerce)และการชำระเงินเนื่องจากการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์(electronic commerce หรือ e-commerce)
          6.การทำลายและก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจ (hacking)
          7.การหลอกลสงในการขายสินค้าและการวงทุนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่นการโฆษณาขายสินค้า
                8.การสกัดหรือดักเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์โดยมิชอบ เช่น การดักฟัง การเป็นสายลับล้วงเอาความลับทางการค้า หรือหมายเลขบัตรเครดิตมาใช้
                9.การฉ้อโกงในการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเจาะเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของธนาคารแล้วเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือโอนเงินจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่ง
                นอกจากนี้ เนื่องจากปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะพิเศษเฉพาะคือ มีลักษณะไร้พรมแดนทางภูมิศาสตร์โดยกระทำผิดบน cyberspace เกี่ยวพันกับหลายประเทศ  ซึ่งผู้กระทำความผิด  ผู้เสียหาย  สถานที่เกิดการกระทำความผิด  และสถานที่เกิดผลแห่งการกระทำไม่จำเป็นต้องอยู่ในประเทศเดียวกัน  ทำให้เกิดปัญหาว่าความผิดเกิดขึ้นในประเทศใด  ศาลของประเทศใดควรมีอำนาจพิจาราณาคดี อีกทั้งแต่ละประเทศมีบรรทัดฐานทางสังคมในเรื่องมาตรฐานทางศีลธรรม และทางกฎหมายแตกต่างกันทำให้ยากแก่การพิจาราณาคดี เช่น การเผยแพร่ภาพลามกในประเทศที่เปิดเผยกับประเทศที่ไม่เปิดเผยในเรื่องเพศ  หรือการเล่นการพนันในประเทศที่อนุญาตให้เล่นการพนันได้กับประเทศที่มีกฎหมายกำหนดว่าการเล่นการพนันผิดกฎหมายย่อมแตกต่างกัน  ซึ่งอาชญากรรมประเภทนี้จัดว่าเป็นอาชญากรรมรูปแบบใหม่ที่ยังท้าทายการควบคุมของกระบวนการยุติธรรมทั่วโลกอย่างยิ่ง  กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจเกิดขึ้นเมื่อปี พ.. 2543 เมื่อวัยรุ่นชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่งทำการปล่อยไวรัสเลิฟผ่านทางอินเตอร์เน็ตก่อให้เกิดความเสียหายแก่โปรแกรมและข้อมูลของผู้ใช้งานทั่วโลกอย่างมากมายมหาศาล  แต่ปรากฏว่าประเทศฟิลิปปินส์ไม่มีกฎหมายที่จะเอาผิดแก่ผู้กระทำครั้งนี้
                อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและซ้ำซาก  ได้แก่   การฉ้อโกงค่าโทรศัพท์  ลักลอบจูนเครื่องโทรทัศน์  การฉ้อโกงบัตรเครดิต  การลักลอบเข้าถึงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ (hackle) ลักลอบโอนเงินบัญชีธนาคาร ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์  การเผยแพร่สิ่งพิมพ์ลามกอนาจารบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ซึ่งขยายเครือข่ายไปถึงอาชญากรรมข้ามชาติที่ทวีความรุนแรงและมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้นในเรื่องการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  แต่มิใช่ความรุนแรงในเรื่องที่มีเลือดตกยางออกแต่อย่างใด
                สำหรับสถานการณ์อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ร่วมสมัยนั้น ธรรมศัดดิ์ วิชชารยะ (2542 : 34) ระบุถึงสภาพปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ว่ามีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยสามารถประเมินมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยทั่วโลกได้สูงถึง 3 แสนล้านบาทต่อปี หรือประมาณ850 ล้านบาทต่อวัน  ในปี พ.. 2538 มีคดีปล้นโรงงานคลังสินค้าและบริษัทจำหน่ายคอมพิวเตอร์ย่านหุบเขาเซลิคอน  รัฐแคลิฟอร์เนีย ถึง 46 ครั้ง มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 750 ล้านบาท  นอกจากนี้การโจรกรรมข้อมูลเชิงธุรกิจ  ความลับทางการค้าอุตสาหกรรม และบัญชีรายชื่อลูกค้าก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดระยะเวลา  10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี พ.. 2534 ผลการสำรวจศูนย์คอมพิวเตอร์จำนวน 3,000 แห่ง  ในประเทศแคนาดาสหรัฐอเมริกา  และยุโรปพบร้อยละ 72 มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ในรอบที่ผ่านมา และร้อยละ 43 ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์
                อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นผลข้างเคียงที่ไม่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้นแต่ไม่อาจยับยั้งได้  จากการปฏิวัติเทคโนโลยีทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและกระแสโลกาภิวัตน์  ก่อให้เกิดช่องโอกาสในการก่ออาชญากรรมในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสลับซับซ้อนยากแก่การสืบสวนดำเนินคดี เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดเนื่องจากจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  และมีกฎหมายพิเศษจึงจะลงโทษเอาผิดได้  อาชญากรรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นอาชญากรรมร่วมสมัยที่ท้าทายกระบวนการยุติธรรมในการจัดการกับปัญหานี้ทั้งในปัจจุบัน  และอนาคต  โดยประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550



          อาชญากรรมการเมือง (political crime)
          อาชญากรรมการเมือง  หมายถึง  การกระทำเพื่อสนับสนุนหรือนำมาซึ่งความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทางการเมือง  และกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แต่ผู้กระทำผิดจะไม่คิดว่าตนเป็นผู้กระทำผิดแต่อย่างใด (Mannheim, 1965 : 327-328) ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า อาชญากรรมการเมืองคือการกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ก็ตามที่เจตนาให้เกิดผลแห่งการกระทำต่อระบบการเมือง  โดยนิยามการกระทำผิดสำหรับอาชญากรรมประเภทนี้เน้นว่าต้องใช้คำว่าการกระทำผิดกฎหมาย (illegal)” เป็นสำคัญ ตามนิยามนี้เหมารวมว่าระบบการเมืองมักจะเป็นฝ่ายถูกต้องเสมอและความพยายามใด ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครองนั้นเป็นฝ่ายผิด  การกระทำผิดประเภทนี้ ได้แก่ การกบฏ  ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร  การบ่อนทำลายเพื่อล้มล้างรัฐบาล  การก่อการร้ายโดยมุ่งหวังผลทางการเมือง  ซึ่งกระบวนการยุติธรรมมองว่าการก่อการร้ายเป็นปัญหาทางการทหารกับความมั่นคง  ขณะที่ทหารก็มองว่าการก่อการร้ายเป็นปัญหาทางการทหารกับความมั่นคง  ขณะที่ทหารก็มองว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาของกระบวนการยุติธรรม  และการบัญญัติกฎหมายที่ทำให้อุดมการณ์บางอย่างเป็นอุดมการณ์ที่ขัดหรือแย้งกับอุดมการณ์กระแสหลักที่ผู้มีอำนาจให้การสนับสนุน
                อย่างไรก็ตามจากนิยามดังกล่าวเกิดคำถามตามมาว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่หากเราไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมซึ่งรัฐบัญญัติขึ้น เช่น กฎหมายที่สนับสนันให้เกิดการเหยียดผิว หรือจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่หากเราไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงประชาชน  อันนำไปสู่ปรากฏการณ์ร่วมสมัยที่เรียกว่า อารยะขัดขืน (civil disobedience)
                ดังนั้นสมมติฐานที่ว่า รัฐอาจถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมได้เช่นกัน นั้น นำไปสู่การวิเคราะห์การกระทำต่าง ๆ น่าสนใจหลายประการ เช่น  การที่สหรัฐอเมริกาโจมตีปานามาเพื่อจับกุมผู้นำมาลงโทษ หรือการที่กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกาติดตามผลการติดเชื้อโรคซิฟิลิส ของพวกแอฟริกัน 400 คน ในระหว่างปี พ.. 1932-1972 โดยไม่ให้การบำบัดรักษา  โดยอ้างว่าเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาธรรมชาติของวงจรโรคซิฟิลิส โดยผลจากการกระทำดังกล่าวของรัฐทำให้อาการของโลกแพร่ระบาดไปในวงกว้างในกลุ่มชาติพันธุ์นั้น  กรณีทำนองเดียวกันนี้หากเกิดขึ้นในไทยปัจจุบัน  ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถฟ้องร้องได้ที่ศาลปกครองซึ่งจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 เป็นต้นมา
                อาชญากรรมการเมืองรูปแบบที่น่าสนใจ ได้แก่
                1.การก่อการร้าย (terrorism)
                การก่อการร้ายทางการเมือง หมายถึง การใช้หือการข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงที่ผิดปกติในลักษณะก่อให้เกิดความกังวลโดยมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองไม่ว่าจะกระทำโดยบุคลหรือกล่มบุคคล  และม่ว่าจะกระทำเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านอำนาจรัฐก็ตาม (Mikolus, 1978 : ศารุตแขวงโสภา, ..., 2542)
         
องค์การอาชญากรรม  (organized crime)
                อาชญากรรมองค์การ หรือองค์การอาชญากรรม คือ เครือข่ายธุรกิจที่แสวงหาผลกำไรจากสินค้าและบริการที่ผิดกำหมาย  เช่น  การค้ายาเสพติด  ค้าหญิงโสเภณี  ค้าสื่อพิมพ์ลามก  เปิดบ่อนการพนัน  ขายสินค้าที่ได้มาจากโจรกรรม  ฟอกเงิน  ขายของเถื่อน  และรับจ้างการกระทำผิดกฎหมายทุกรูปแบบ  รวมทั้งกระทำในรูปแบบข้ามชาติ  ถ้าพิจารราเพียงผิวเผินเสมือนหนึ่งว่าผู้กระทำผิดผิดเพียงแต่กระทำหรือบริหารจัดการงานที่ผิดกฎหมายเพียงฝ่ายเดียว  แต่ถ้าพิจารณาลึกลงไปพบว่าต้องมีผู้จัดหาสินค้าหรือบริการที่ผิดกฎหมายมาป้อนให้แก่หน่วยจัดการนี้ด้วยเพราะให้ผลกำไรที่สูงมาก
                องค์การอาชญากรรมมีลักษณะสำคัญหลายประการ
          1.องค์การอาชญากรรมจะจัดหาสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายได้ในปริมาณมาก  จนสามารถดำรงองค์การเพื่อประกอบธุรกิจการค้าเหล่านี้สนองความต้องการของผู้คน  อาชญากรรมองค์การที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการที่หาได้ง่าย  ราคาถูก  จากแหล่งที่ผลิตที่ทั้งถูกและผิดกฎหมาย  และผลกำไรจากการค้าไม่เข้าสู่ระบบการเงินของรัฐ
                2.องค์การอาชญากรรมที่ต้องอาศัยความร่วมมือของตำรวจนักการเมือง  และเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการอยู่รอดและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง  แลกเปลี่ยนกันด้วยการลงคะแนนเสียงให้  และให้การอุปถัมภ์เป็นรายบุคคลแก่ตำรวจ  อัยการ  ผู้พิพากษา  สื่อมวลชนที่มีบทบาทหน้าที่ในการควบคุมสังคม  รวมทั้งสมาชิกสภาต่างๆระดับท้องถิ่น  เมืองและรัฐ
                3.องค์การอาชญากรรมมีการใช้กำลังรุนแรงในการบังคับให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดบานของกลุ่ม  องค์การเหล่านี้ควบคุมกฎระเบียบที่เข้มงวด  และมีบทลงโทษที่โหดเหี้ยมต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎกติกาของกลุ่ม  และขณะเดียวกันก็มีวิธีการกำจัดคู่แข่งขันอย่างโหดร้ายทารุณสุดๆ  เช่น แก๊งค้ายาบ้าในไทยมีการตัดใบหูลูกค้าทำพวงกุญแจ  ส่วนการควบคุมอาชญากรรมประเภทนี้ก็ทำได้ยากเนื่องจากขาดพยานหลักฐานหรือพยานมักหวาดกลัวที่จะให้การปรักปรำต่อองค์การอาชญากรรม
                4.องค์การอาชญากรรมมีการจัดโครงสร้างองคืการอย่างมีประสิทธิภาพ  องค์การเหล่านี้มิได้เพียงประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นอาชญากรของสังคมเท่านั้น  พวกเขาเป็นอาชญากรที่ติดต่อสัมพันธ์กับสมาชิกสังคมที่ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย  และทั้งอาชญากรและผู้ที่ได้ชื่อว่า อยู่ในระเบียบสังคม ต่างก็ช่วยกันสร้างเครือข่ายในระดับเมือง  ระดับภูมิภาค  และระดับชาติเพื่อทำงานร่วมกัน  และเนื่องจากอาชญากรรมประเภทนี้มีการบริหารจัดการแบบองค์การจึงทำให้สาวความผิดถึง ผู้บงการ”  “ผู้มีอิทธิพล หรือ เจ้าพ่อ กระทำได้ยาก  เพราะมีการตัดตอนคำสั่งให้กระทำผิดกันเป็นชั้นๆ
                เครือข่ายอาชญากรรมองค์การเหล่านี้บ่อยครั้งที่ควบคุมอยู่เบื้องหลังกลุ่มชาติพันธุ์  หรือชนกลุ่มน้อยต่างๆเช่นกลุ่มว้าแดงที่ผลิตยาบ้าส่งขายในประเทศไทย  เป็นต้น  ซึ่งภาพความคิดเกี่ยวกับองค์การอาชญากรรมเหล่านี้ได้มาจากอิตาเลียนในอเมริกา  คือภาพของแก๊งมาเฟียต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันองค์การอาชญากรรมเหล่านี้อยู่ในมือของชาวจีนแอฟริกันอเมริกัน  แม็กซิกัน  อิตาเลียน  เวียดนาม  ญี่ปุ่น  คิวบา  โคลัมเบีย  ไอริช รัสเซีย  มากว่า
                กล่าวโดยสรุปได้ว่า  อาชญากรรมเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมที่มีการประยุกต์ประปรับปรุงรูปแบบวิธีการควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคม  และพบว่ายังมีอาชญากรรมและอาชญากรจำนวนมามายหลายประเภทที่เกิดขึ้นใหม่  แต่กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมก็ยังปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการควบคุมอาชญากรรมเหล่านี้ได้ไม่ทันต่อสภาพการที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยยังมุ่งเน้นการควบคุมสังคม  และบังคับใช้กฎหมายต่ออาชญากรรมพื้นฐานเพียงอย่างเดียว  อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาของสังคมต่ออาชญากรรมเหล่านี้จะมีส่วนสร้างกระแสความต้องการที่ชี้ทิศทางให้กับรัฐในการดำเนินการอย่างเหมาะสม   เพื่อความสงบสุขของสังคมส่วนรวมต่อไป
               


สาเหตุปัญหาอาชญากรรม
                จากประสบการณ์และจากการวิเคราะห์มูลเหตุของอาชญากรรมของกองบัญชาการตำรวจนครบาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และองค์การที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ พอจะประมวลสาเหตุของการก่ออาชญากรรมได้ดังนี้
                1.สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม
                                1.1การว่างงาน ผู้ที่ว่างงานทำย่อมขาดรายได้สำหรับดำรงชีวิต ทำให้สภาพจิตใจและอารมณ์ไม่ปกติ ส่วนผู้ที่ว่างงานที่อยู่ในชนบท มักใช้เวลาว่างไปในทางอบายมุขเที่ยวเตร่ ดื่มสุรา เล่นการพนัน การว่างงงานจึงทำให้ขาดรายได้เลี้ยงชีพเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นชนวนให้ก่ออาชญากรรม
                                1.2 พวกติดสิ่งเสพย์ติด ประสาทหลอน ควบคุมสติไม่ได้ ครั้นตกเป็นทาสยาเสพติดความคิดสร้างสรรค์การทำงานสมองและจิตใจที่บริสุทธิ์จะถูกบั่นทอนลง ขาดความยั้งคิดทำอะไรง่ายๆยาเสพย์ติดจึงมักจะเป็นสะพานก่ออาชญากรรม
                                1.3 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในปัจจุบันสังคมไทยได้รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เช่น การแต่งกาย ความสัมพันธ์ทางเพศ อันเป็การยั่วยุความรู้สึกทางกามารมณ์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาชญากรรม
                                1.4 ความเสื่อมทรามทางศีลธรรม ปัจจุบันสังคมไทยมีวัฒนธรรมทางวัตถุ เจริญล้ำหน้ากว่าวัฒนธรรมทางจิตใจ ฉะนั้นผู้ที่ขาดการอบรมทางจิตใจจึงประกอบอาชญากรรมเพื่อแสวงหาวัตถุอันเป็นสิ่งปรารถนา
                   1.5 ค่านิยมที่ผิด เช่น การเป็นนักเลงโต สร้างกลุ่มอิทธิพลอำนาจ การขัดแย้งในค่านิยม ของมีค่ามีอยู่จำกัดแต่มีผู้ต้องการมากจึงต้องแข่งขันต่อสู้ช่วงชิงกันเมื่อมีความต้องการรุนแรง ไม่มีความชอบธรรมจะได้มา ก็ฉ้อโกง ลัก ปล้น
                                1.6 สภาพครอบครัว เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลกระตุ้นให้บุคคลกลายเป็นอาชญากรรมได้ เช่น ครอบครัวที่ยากจน ครอบครัวที่บิดามารดาแตกแยก
                                1.7 สภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นปฏิภาคกลับกับค่าของเงิน คือ ค่าของเงินลดลงทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นรายได้ไม่พอกับรายจ่าย บุคคลบางประเภทจำต้องดิ้นรนต่อสู้ด้วยการเป็นอาชญากรรมหาเงินโดยทางผิดกฎหมาย
         

2.สาเหตุเนื่องจากความบกพร่องทางจิต
                เป็นโรคจิต โรคประสาท มีความก้าวร้าว มีความรู้สึกนึกคิดต่อต้านเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม สภาพของจิตใจที่ถูกบังคับ เป็นเหตุให้บุคคลกระทำผิด

ปัจจัยที่เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรม

      อายุกับอาชญากรรม
                     จากสถิติอาชญากรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมาพบว่าผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวกระทำผิดมากกว่าผู้ใหญ่คิดเป็นสัดส่วน 3 ต่อ 5 และผู้ที่ถูกจับกุมในคดีความผิเกี่ยวกับทรัพย์สูงที่สุดมีอายุ 16 ปี ขณะที่ผู้ที่มีอายุ 18 ปี ก่ออาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่มีความรุนแรงมากที่สุด
                     เหตุที่คนวัยหนุ่มกระทำผิดมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะประกอบอาชญากรรมประเภท
อาชญากรรมพื้นฐานทั่วไปนั้น  อธิบายได้ว่า
                    1.  วัยหนุ่มสาวเป็นวัยที่กำลังจะพ้นจากอ้อมอกพ่อแม่ หลงระเริงเป็นวัยพายุบุแคม และได้รับอิทธิพลจากเพื่อน ขณะเดียวกันก็อยากสร้างวีรกรรมความประทับใจให้เพื่อนเห็นความสามารถของตน ซึ่งบางครั้งแสดงออกในกิจกรรมที่ท้าทาย บ้าบิ่น เสี่ยงภัย บางครั้งก็ผิดกฎหมาย นอกจากนี้วัยรุ่นเมื่ออยู่ในกลุ่มอาจมีการแสวงหาความพึงพอใจ สนุกสนานรื่นเริงด้วยการทดลองทำสิ่งแปลงใหม่ที่ท้าทาย ฝ่าฝืนระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม เช่น ดื่มสุรา เสพยาเสพติด และแสดงพฤติกรรมผาดโผน หลุดโลกไร้สาระ เป็นต้น
                    2.  วัยหนุ่มสาวมักต้องการเงินทองจับจ่ายใช้สอยมากกว่าเบี้ยเลี้ยงที่พ่อแม่ให้ใช้จ่าย รวมทั้งมากกว่าลำไพ่พิเศษที่ได้จากงานนอกเวลา
                    3.  วัยหนุ่มสาวเป็นวัยดื้อรั้นต่อต้านกฎระเบียบและผู้มีอิทธิพลทุกรูปแบบ แต่พฤติกรรมดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อหนุ่มสาวเหล่านี้มีงานประจำทำ หรือแต่งงานมีครอบครัวหรือมีบุตร ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นเขจะรู้สึกผูกพันกับครอบครัวและสังคมมากขึ้น
                    4.  จากที่กล่าวมาในข้อต้นๆ คนหนุ่มสาวมีสรีระร่างกายที่กระฉับกระเฉงว่องไว มีอารมณ์ที่หวือหวาไม่มั่นคงแน่นอนเท่าผู้ใหญ่จึงถูกปลุกปั่นยุยงโดยง่าย
                    อย่างไรก็ตาม สำหรับสังคมไทยแม้เด็กและเยาวชนหรือผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวจะกระทำผิดมากกว่าผู้ใหญ่ แต่สถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม  และที่ต้องโทษจำคุกหรือฝึกอบรมในสถานพินิจในกรณีเป็นเด็กและเยาวชนสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2540-2545) กลับกลายเป็นคดีความผิดพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ คือเสพ ครอบครอง หรือจำหน่ายยาบ้า เฮโรอีน กัญชา ฯลฯ ทั้ง ๆ ที่ควรมีคดีประเภทชกต่อยก่อการวิวาทชุลมุนทำร้ายร่างกายกันตามประสาวัยหนุ่ม ซึ่งเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวรุกรานเป็นจำนวนมาก แต่เด็กวัยรุ่นไทยกลับหันไปเสพยาเสพติดซึ่งเป็นพฤติกรรมไม่ต่อสู้ไม่ดิ้นรน และยอมตามข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนไทยในเชิงลึกต่อไปโดยทั่วไปที่ผู้ใหญ่กระทำผิดมากขึ้นวิเคราะห์ได้ว่า เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ส่วนหนึ่งไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยที่จะพาตนเองเข้าสู่ความยุ่งยากเดือดร้อน ไม่เรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาดของผู้อื่น และอีกส่วนหนึ่งรู้สึกว่าการเกษียณอายุการทำงานของตนนั้นจะนำพาความเบื่อหน่าย เงียบเหงา อ้างว้างเปล่าเปลี่ยวมาให้ความกลัวต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เกิดความคับข้องใจ ไม่สบายใจต่อสถานภาพทางการเงินที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป หรือกลัวการถูกครอบครัวละทิ้งไม่ให้ความสำคัญเมื่อเกษียณอายุ ฯลฯ เช่นเดียวกับเหตุผลที่กลุ่มวัยรุ่นกระทำผิด การที่ผู้สูงอายุกระทำผิดมากขึ้นอาจเกิดจากสภาวะที่เปลี่ยนผ่านสำหรับผู้สูงอายุเหล่านี้ อาจทำให้ผู้สูงอายุกระทำผิดแบบที่ไม่คิดว่าน่าจะทำได้
      
       เพศกับอาชญากรรม
                    เพศกับพฤติกรรมการกระทำผิดเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก โดยสถิติอาชญากรรมที่เกิดในสหรัฐอเมริการะบุว่า ร้อยละ 90 กระทำผิดโยผู้ชาย และอีกร้อยละ 10 กระทำผิดโดยผู้หญิง  เมื่อจำแนกสัดส่วนเพศกับประเภทการกระทำผิดที่น่าสนใจ โดยศึกษาสถิติคดีจากกระทรวงยุติธรรม สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1996 พบว่า สัดส่วนอาชญากรเพศชายต่อเพศหญิง คิดเป็น 2.7 ต่อ 1 ในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และ 6 ต่อ1 ในคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ และในรอบ 20 ปีนี้ผู้หญิงประกอบอาชญากรรมในคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญค่อนข้างคงที่แต่ประกอบอาชญากรรมในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เพิ่มมากขึ้น ส่วนจำนวนนักโทษหญิงในเรือนจำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 9 ในปี ค.ศ.  1995-1996 แต่จำนวนนักโทษหญิงคิดเป็นร้อยละ  6.3  ของจำนวนนักโทษทั้งหมด ซึ่งในทุกๆ สังคมทั่วโลกพบว่า เพศชายกระทำผิดมากกว่าเพศหญิง
        การที่ชาย หญิงแสดงพฤติกรรมอาชญากรแตกต่างกันอธิบายได้ว่า
            1.  เพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกันทางสรีระร่างกาย เช่น ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอร์โรนซึ่งมีมากในชายทำให้ร่างกายบึกบึน แข็งแรง แต่ในหญิงมีฮอร์โมนเทสโทสเทอร์โรนน้อยกว่า ทำให้ชายมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวกว่าหญิง
        2.  ช่องว่างระหว่างเพศซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างในการขัดเกลาทางสังคมที่อบรมสั่งสอนบทบาททางเพศของชายและหญิงแตกต่างกัน โดยเด็กผู้ชายจะถูกสอนให้ก้าวร้าว เป็นฝ่ายรุก ขณะที่เด็กผู้หญิงต้องสงบเสงี่ยม เรียบร้อย พ่อแม่จะให้อิสระแก่เด็กผู้ชายมากกว่าขณะที่ควบคุมดูแลเด็กผู้หญิงมากกว่า
            3.  โครงสร้างทางสังคมกีดกันผู้หญิง และเปิดโอกาสให้ผู้ชายมากกว่าในเรื่องการประกอบอาชีพการงาน  และโครงสร้างนี้ติดตามมาถึงองค์การอา๙ญากรรม แก๊งอาชญากร และเครือข่ายการค้ายาเสพติดด้วยองค์การอาชญากรรมต่างก็เปิดโอกาสให้ชายมากกว่าหญิง ดังนั้นประสบการณ์ทางสังคม โอกาสทางสังคม การมีอำนาจอันชอบธรรมจึงจำกัดการมีส่วนร่วมในการประกอบอาชญากรรมของหญิงไปด้วย
                     อย่างไรก็ตาม นักอาชญาวิทยาศึกษาพบว่า จำนวนอาชญากรหญิงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเหตุที่หญิงมีแนวโน้มกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น อธิบายได้ว่า เนื่องจากการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีให้เท่าเทียมกับบุรุษดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทั้งด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ การที่ชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันทางกฎหมายเปิดโอกาสให้หญิงกระทำนิติกรรม  ติดต่อธุรกิจการค้าได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น และมีช่องทางประกอบอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์เพิ่มมากขึ้น
                     ส่วนการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมนั้นก็เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเพศโดยตรง โดยผู้หญิงตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมน้อยกว่าผู้ชายในทุกประเภท ดังเช่น ตัวเลขจาก  National Crime Vitimization Survey (NCVS)  ปี ค.ศ. 2000  แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงอายุ 12  ปีขึ้นไปอาจตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในคดีอุกฉกรรจ์ในสัดส่วน   25.9 ต่อผู้หญิง 1,000 คน เมื่อเทียบกับผู้ชายซึ่งอาจตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมอุกฉกรรจ์มากกว่าคือในสัดส่วน 38.89 ต่อผู้ชาย 1,000 คน ส่วนคดีชิงทรัพย์ ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อในสัดส่วน 55.9 ต่อผู้หญิง 1,000 คน ขณะที่ผู้ชายตกเป็นเหยื่อถึง 62.6 ต่อผู้ชาย 1,000 คน และพบว่าผู้หญิงที่อายุ 65 ปีขึ้นไปตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมต่ำที่สุด
                    อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมสูงสุดในคดีถูกข่มขืนในที่อื่นและถูกข่มขืนโดยคู่สมรส และตัวเลขสถิติคดีของอเมริกาพบว่าคดีข่มขืนมีปริมาณเพิ่มขึ้น ขณะที่อาชญากรรมประเภทอื่นมีจำนวนลดลง
             ในปี ค.ศ. 1994 มีการออกกฎหมายควบคุมอาชญากรรมที่มีความรุนแรง โดยรัฐให้เงินสนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการควบคุมอาชญากรรมเหล่านี้ ได้แก่เพิ่มการสนับสนุนเกี่ยวกับ  (1) หลักสูตรการฝึกอบรมตำรวจ อัยการ ศาล ในเรื่องเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายและอาชญากรรมทางเพศในครอบครัว (2) สนับสนุนนโยบายการป้องกันก่อนที่จะเบี่ยงเบนไปสู่การกระทำผิด(3) สนับสนุนการช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม (4) สนับสนุนด้านที่พักพิงแก่หญิงที่ถูกทำร้ายจากบุคคลในครอบครัว (5) สนับสนุนโครงการให้ความรู้ในชุมชนเพื่อป้องกันการถูกข่มขืน (6) จัดตั้งสายด่วนในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวและ (7) เพิ่มขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยในที่สาธารณะ รวมทั้งเสนอกฎหมายป้องกันการข่มขืนที่มีบทลงโทษที่รุนแรงมากขึ้น







ชนชั้นทางสังคมกับอาชญากรรม
                ผู้ประกอบอาชญากรรมประเภทพื้นฐานที่ถูกดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีศาล ส่วนใหญ่เป็นคนจน ตกงาน หรือไม่ก็ประกอบอาชีพเป็นกรรมกรผู้ใช้แรงงงาน ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ของการที่ชนชั้นล่างกระทำผิดมากนี้ได้ว่า
                1.การเก็บสถิติคดีอาชญากรรมเน้นการจำแนกประเภทคดีอาชญากรรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิดที่เป็นชนชั้นล่างอยู่แล้ว ส่วนคดีอาชญากรรมคอเชิ้ตขาวซึ่งกระทำผิดโดยชนชั้นสูงทั้งหลายไม่ปรากฏชัดเจนในสารบบความ
          2.ตำรวจและผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทั้งกระบวนการเชื่อว่าหรือตั้งสมมติฐานว่าชนชั้นล่างมักจะเป็นอาชญากรมากกว่า
                3.ความยากลำบากในการครองชีพของคนจนอาจกดดันให้คนเหล่านี้ประกอบอาชญากรรม
                ขณะเดียวกันชนชั้นสูงก็ประกอบอาชญากรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งแตกต่างออกไปตามระบบการจัดจำแนกชนชั้นทางสังคม คืออาชญากรรมคอเชิ้ตขาวซึ่งผู้ประกอบอาชญากรรมชนิดนี้มักเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงาน มีบทบาททางการเมือง และอยู่ในวงสังคมชั้นสูง รวมทั้งคดียักยอกทรัพย์ อาชยากรรมคอมพิวเตอร์ เรียกรับสินบนปั่นหุ่น โกงที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ และเกี่ยวข้องกับผู้คนที่อยู่อีกด้านหนึ่งของชนชั้นทางสังคม ความรู้สึกของสังคมมักจะมองว่าอาชญากรรมคอเชิ้ตขาวและผู้มีส่วนรวมเหล่านี้ไม่ได้ประกอบอาชญากรรมร้ายแรงที่เป็นอันตรายแก่สังคมเท่ากับอาชญากรรมที่กระทำโดยคนจน ดังนั้น เมื่อชนชั้นล่างกระทำผิดจึงรู้สึกว่านั่นคือ เขากำลังก่อปัญหาอาชญากรรมให้กับสังคม
                นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่า เมื่อประกอบอาชญากรรมแล้วชนชั้นสูงสามรถปกปิดความผิดที่ได้กระทำโดยใช้อำนาจอิทธิพลจากตำแหน่งหน้าที่ได้มากกว่าชนชั้นล่าง รวมทั้งภาพลักษณ์ในการติดต่อประสานงานกับบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรมของชนชั้นสูงก็มีผลแตกต่างไปจากภาพลักษณ์ของชนชั้นล่าง เช่น การแต่งกาย ความสุภาพ การขับขี่รถยนต์และราคาแพง เป็นต้น

กลุ่มชาติพันธุ์กับอาชญากรรม
                กลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยในสังคมใหญ่ของแต่ละประเทศมักจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกระบวนการยุติธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่า กลุ่มชาติพันธุ์หรือการเป็นชนกลุ่มน้อยเป็นสาเหตุทำให้กระทำผิดกฎหมายเสมอไป เพราะบ่อยครั้งคนเหล่านี้กระทำผิดเพราะตกงานและยากจนในอเมริกามีปัญหาเรื่องสีผิวมาก และมีจำนวนคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันหรือคนผิวดำกระทำผิดมากกว่าคนผิวขาว เช่น ในปี ค..1993 ในคดีฆาตกรรมสามรถจับกุมผู้กระทำผิดที่เป็นคนดำได้ 11,656 ราย และคนขาว 8,243 ราย อย่างไรก็ตามอาจเป็นไปได้ว่า กระบวนการยุติธรรม มีอคติต่อชนกลุ่มน้อยที่ยากจน ชนกลุ่มน้อยที่ยากจนจึงมักเป็นกลุ่มแรกที่ถูกตั้งข้อสงสัย ว่ากระทำผิดเมื่อมีอาชญากรรมพื้นฐานเกิดขึ้น
                สำหรับประเทศไทยยังไม่สามารถหาสถิติเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์กับการกระทำผิดได้ เนื่องจากขาดระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ มีเพียงงานวิจัยชิ้นเดียวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ซึ่งทำการศึกษาข้อมูลจากเด็กและเยาวชนกระทำผิด คือ จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย (2543) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องครอบครัวของเด็กและเยาวชนกระทำผิด : จำแนกตามกลุ่มชาติพันธุ์ ในกรุงเทพมหานคร พบว่า เยาวชนเชื้อสายจีนกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทุกรูปแบบมากที่สุด ขณะที่เยาวชนเชื้อสายลาว กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ทุกรูปแบบมากที่สุด

ต้นทุนของอาชญากรรม
                ความกลัวอาชญากรรมบังคับให้เราลงทุนจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆให้กับอาชญากรรม ผลกระทบของอาชญากรรมที่มีต่อเหยื่อและสังคมที่มีมูลค่ามหาศาลอันไม่อาจประมาณค่าได้เหยื่อบางรายถูกทำร้ายได้รับอันตรายกายแสนสหัสต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เสียค่าใช้จ่ายมากมาย บ้างก็มีบความทุกข์ยากเดือดร้อน เสียเวลาและเงินทองในการซ่อมแซม ฯลฯ   ในเรื่องนี้กระทรวงยุติธรรมแห่งสหรัฐอเมริกาพยายามประเมินค่าความเสียหายจากอาชญากรรมโดยใช้การประเมิน 2 มิติ คือ มูลค่าของทรัพย์สินที่เสียหายเมื่อเกิดอาชญากรรมมิติหนึ่ง  และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเหยื่อผู้บาดเจ็บอีกมิติหนึ่ง แต่ก็ยังมิอาจประมวลตัวเลขทั้งหมดได้ เนื่องจากการรักษาพยาบาลบางรายต้องใช้เวลาต่อเนื่องในการรักษาภายหลังเกิดอาชญากรรมเป็นเดือนบางครั้งเป็นปี บางครั้งเหยื่อยังต้องใช้จ่ายเป็นค่ารักษาทางจิตใจกับนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาอีกด้วย และบางกรณีบริษัทประกันมีการจ่ายเงินให้ระหว่างพักรักษาตัวไม่สามารถไปทำงานตามปกติให้แก่เหยื่อด้วยเช่นกัน
          ตัวเลขจาก Burau of Justics statistics  (BJS) ระบุว่าในปี ค.ศ. 1992เหยื่ออาชญากรรมคดีอุกฉกรรจ์ เช่น ข่มขืน ปล้น ทำร้ายร่างกาย ย่องเบา และอุบัติเหตุทางรถยนต์  ทำให้ต้องสูญเสียเงินประมาณ 17.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 756.8 พันล้านบาท)ซึ่งคิดคำนวณเฉพาะมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินที่ถูกโจรกรรมหรือเสียหายจากการประกอบอาชญากรรม เงินที่สูญหาย ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆที่สูญเสียให้กับการทำงานของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ตั้งแต่เงินเดือน ค่าก่อสร้างอาคาร คุก ตะราง สถานที่บำบัดฟื้นฟู ฯลฯ ของทั้งกระบวนการยุติธรรม ซึ่งได้แก่หน่วยงานตำรวจ ราชทัณฑ์ และหน่วยบำบัดฟื้นฟูในชุมชน
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดระบุต่อไปอีกว่า
               มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจของสังคมเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 71 ในอาชญากรรมต่อบุคคลทั่วไป รวมทั้งคดีข่มขืน ปล้น ทำร้ายร่างกาย และตีชิงวิ่งราวทรัพย์
               ในคดีอุกฉกรรจ์ เช่น ข่มขืน ปล้น ทำร้ายร่างกาย เหยื่อมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นถึงร้อยละ 23
                คดีปล้นทรัพย์และย่องเบาโดยใช้ยานพหานะ เหยื่อมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจร้อยละ 91
                 เหยื่อคดีอุกฉกรรจ์ประมาณร้อยละ 31  เจ็บทางร่างกาย
                เหยื่อ 1.8 ล้านคน สูญเสียเวลาทำงาน 6.1 ล้านวันในแต่ละปีอันเป็นผลเนื่องจากอาชญากรรม คิดเป็นเวลาที่สูญเสียไปในการทำงานสำหรับเหยื่อเฉลี่ยคนละ3.4 ในแต่ละวัน

ผลเสียจากปัญหาอาชญากรรม
                1.เป็นผลเสียแก่ผู้ประอบอาชญากรรม คือเสื่อมเสียชื่อเสียงและอิสรภาพเมื่อถูกจับเข้าคุก หรือขณะการจับกุม
                2.ผลเสียของเจ้าทุกข์ คือ ทรัพย์สิน เสียชีวิต เสียสุขภาพจิต เสียเวลา
                3.ผลเสียต่อสังคมส่วนรวม คือเสียงบประมาณในการปราบปราม ป้องกันแก้ไข จับเข้าตารางแล้วยังจ่ายค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ทำให้สังคมไม่สงบสุข

ผลกระทบจากปัญหาอาชญากรรม
          1.อาชญากรรมเป็นตัวอย่างไม่ดี เป็นความล้มเหลว
                2.อาชญากรรมทำให้ผู้ถูกกระทำเสียหายทั้งในแง่ทรัพย์สิน เงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง
          3.อาชญากรรมที่ทำซ้ำซากอาจทำให้ผู้กระทำเกิดเป็นนิสัยชั่ว ไม่พยายามหาทางแก้ปัญหาในทางที่ถูกทำนองคลองทำ
                4.รัฐต้องเสียงบประมาณค่าใช้จ่าย ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ และเสียเวลาป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
                5.อาชญากรรมเป็นอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าของสังคม

หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา
                1.รัฐหรือหน่วยงานราชการ
                2.สถาบันหรือองค์กรเอกชนต่างๆ
                3.ประชาชนทั่วไป
                4.โดยการเข้าค่าย
                5.โดยการลงโทษ

แนวทางการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                สำหรับการแก้ไขปัญหานั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเช่นเดียวกับการป้องกัน และการดำเนินงานหลายอย่างอาจจะเป็นเพื่อเป็นการและป้องกันไปพร้อมๆกัน
                                การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมกระทำได้ดังนี้
                1.รัฐหรือหน่วยงานราชการ ต้องแก้ไขปัญหาพื้นฐานเบื้องต้น เช่น การว่างงาน ความเสื่อมทรามทางวัฒนธรรม ความยากจน ต้องสอดคล้องผู้กระทำผิด และลงโทษอย่างจริงจัง
                2.สถาบันหรืองค์กรเอกชนต่างๆ ให้ความร่วมมือกับทางราชการ
                3.ประชาชนทั่วไป ต้องตระหนักถึงสังคมประเทศ คืออบรมเลี้ยงดูลูกหลานให้ถูกทางต้องอบรมสั่งสอนไม่ให้หลงผิด
                4.โดยการค่าย ให้การอบรมให้ประพฤติตนเป็นคนดีที่ชอบพูดกันว่า ละลายพฤติกรรม
                5.โดยการลงโทษ ผู้กระทำผิดอย่างรุนแรงควรประหารชีวิตให้สูญพันธุ์

แนวทางแก้ปัญหาภายในชาติ

                 ทุกวันนี้คงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันแล้วว่า ในบ้านเมืองเรามีปัญหาอยู่มากมาย ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ถึงแม้เราจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขตลอดมา แต่ปัญหาเหล่านั้นก็ไม่ได้หมดไปหรือเบาบางลง ตรงข้ามกลับดูเหมือนว่าจะยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น ปัญหาเก่ายังไม่ทันจะหมดไป ปัญหาใหม่กลับกระหน่ำซ้ำเติมเข้ามาอีก เราจึงควรหันมาสามัคคีกลมเกลียวช่วยแก้ปัญหาบ้านเมืองของเรา แนวทางแก้ปัญหาภายในชาติมีอยู่แล้วทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและการทหาร กล่าวคือ
                 1. ในด้านการเมือง  เราจะต้องดำเนินการทุกวิธีทางในอันที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขให้เข็มแข้งมั่นคง ขจัดความไม่เป็นธรรมและเงื่อนไขสังคมทุกระดับตามขีดความสามารถ โดยใช้แนวทางดังต่อไปนี้คือ
                  1.1  ใช้อุดมการณ์  ตามธรรมดาประเทศที่กำลังพัฒนา มักถูกแทรกแซงทั้งภายในและภายนอกประเทศ อุดมการณ์จึงมีบทบาทสำคัญมากในการแก้ปัญหาภายในประเทศ เมื่อใดคนในชาติยึดมั่นในอุดมการณ์เดียวกัน ต่างก็จะพร้อมใจกันดำเนินการทุกวิถีทาง ยอมเสียสละได้แม้กระทั่งเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อให้บรรลุอุดมการณ์นั้น เช่น ประเทศญี่ปุ่น สมัยฟื้นฟู เมอิจิ ได้ปลุกพลังสามัคคีและพลังชาตินิยมของพลเมืองด้วยอุดมการณ์ที่ต้องการ จึงสามารถพัฒนาพลเมืองให้มีระเบียบวินัย ขยันขันแข็ง มุมานะบากบั่น จนสามารถแก้ปัญหาและเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงได้
                  1.2  ให้ความรู้  คือ  พยายามให้ความรู้ทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้แก่ประชาชน ให้ตื่นตัวและเกิดจิตสำนึกในทางการเมืองจนกระทั่งเกิดความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนมีความตระหนักว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ตลอดจนมีความตระหนักว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และเป็นผู้กำหนดว่าบุคคลใด คณะใดหรือพรรคการเมืองใดสมควรจะเป็นผู้ถืออำนาจการปกครองประเทศแทนประชาชน
                    1.3  สร้างพื้นฐานประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน  คือ  ให้มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย มีความเสียสละ มีเหตุผล เคารพในสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
                    1.4  ปรับปรุงระบบบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพ ให้มีการบริการที่รวดเร็วเสมอภาค ยุติธรรม ตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ตรงเป้าหมาย ขจัดอภิสิทธิ์อิทธิพลและการคอร์รัปชันในวงราชการให้หมดไป
                   1.5  ส่งเสริมข้าราชการให้มุ่งรับใช้ประเทศชาติด้วยความซื่อสัตย์  โดยส่งเสริมให้ข้าราชการมีขวัญดี ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และหวังดีต่อประเทศชาติและประชาชน ข้อนี้มีความสำคัญมาก จะต้องเร่งรีบกระทำให้สำเร็จโดยเร็ว

                2 .  ในด้านเศรษฐกิจ ก็มีแนวทางในการแก้ไขตามหลักการดังต่อไปนี้
               2.1  การเพิ่มขีดความสามารถและพึ่งตนเองทางเทคโนโลยี  อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการลงทุนและเพิ่มผลผลิต ตลอดจนผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจเติบโตละสร้างโอกาสในการสร้างงานมากขึ้น พร้อมกับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
                       2.2  ลดการขาดดุลการค้าด้วยอุดมการณ์นิยมไทย  คือ  พยายามปลูกฝังความสำนึกให้คนไทย  ส่งเสริมเอกลักษณ์ที่ดีของไทย ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทย ซึ่งจะช่วยให้การอุตสาหกรรมภายในประเทศขยายตัว ซึ่งจะช่วยให้การอุตสาหกรรมภายในประเทศขยายตัว จะช่วยให้คนมีงานทำ มีรายได้ดีเพิ่มขึ้น
                       2.3  การประหยัด  ก็เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศและลดการเสียเปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อคนเรามีนิสัยประหยัดแล้วก็จะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ของต่างประเทศ การรณรงค์ให้ชนในชาติรู้จักประหยัด จึงเป็นการช่วยลดการขาดดุลการค้าได้อย่างดีทีเดียว
                       2.4  การส่งเสริมการส่งออก  ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการขาดดุลการค้าได้เพราะการเพิ่มปริมาณการส่งออกย่อมก่อให้เกิดผลดีอย่างเห็นได้ชัด คือ ได้เงินตราต่างประเทศเข้ามาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประการสำคัญก็คือ ทำให้ลดการเสียเปรียบดุลการค้าลงได้ รวมความแล้วนโยบายแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลก็คือ มุ่งประหยัด เร่งรัดใช้ของไทย ร่วมใจกันส่งออก นั่นเอง
              3.  ในด้านสังคม เราก็มองเห็นชัดว่า ปัญหาที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคมอย่างมากก็คือ ปัญหาที่เกิดจากอิทธิพล อำนาจมืด การกดขี่ขูดรีด การคอร์รัปชัน ซึ่งการแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ต้องอาศัยกฎหมายที่เป็นธรรม และผู้รักษากฎหมายที่เข้มแข้ง หัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม ขึ้นอยู่กับการพัฒนาจิตใจคนเป็นประการสำคัญ ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ หรือความเจริญด้านเทคโนโลยีย่อมสามารถสร้างความเจริญในด้านเศรษฐกิจและสังคมได้เท่าๆกับการทำลาย ตัวอย่างเช่น วิดีโอ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ได้ แต่วิดีโอที่เสื่อมเสียศีลธรรมก็ได้ทำลายเด็กและเยาวชนมาแล้วเป็นอันมาก อาวุธร้ายแรงสามารถใช้ป้องกันประเทศได้ แต่อาวุธเหล่านั้นก็ถูกนำมาใช้ทางทำลายได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน  แต่ความร้ายแรงทั้งหลายเหล่านั้น สามารถแก้ไขได้ นั่นก็คือ เราจะต้องพัฒนาคนทั้งคุณภาพ สุขภาพทั้งคุณธรรม จริยธรรม เสริมสร้างคนให้มีความเป็นตัวของตัวเอง โดยมีจุดมุ่งหมายไปสู่ชีวิตที่มีอุดมการณ์ อันจะนำมาซึ่งความมั่นคงและความสงบสุขของบ้านเมือง ด้วยวิธีการเสริมสร้างดังต่อไปนี้คือ
                -  ช่วยปลูกฝังและส่งเสริมคุณธรรมและค่านิยมที่ดี
                -  ช่วยขจัดค่านิยมที่ไม่ดี และลักษณะนิสัยประจำชาติบางประการที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชาติบ้านเมืองอย่างสงบสุขให้หมดไป
                -  ช่วยกันรักษาศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ รวมทั้งวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ดีงามให้ดารงอยู่ ไม่หลงใหลตกเป็นทาสของวัฒนธรรมที่ไม่ดี
            3.2  สถาบันศาสนา 
               -ต้องช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทยให้มั่นคงคู่กับสถาบันชาติและพระมหากษัตริย์ตลอดไป
               -  ชักชวนให้ประชาชนมีศรัทธาเลื่อมใสศาสนาที่ตนนับถืออย่างแท้จริง
               -  ช่วยกันปลูกฝังคุณธรรม 4 ประการ ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ สัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ
               -  ช่วยกันรณรงค์ต่อต้านอบายมุข
               -  ช่วยสอดส่องป้องกันภัย และความเสียหายที่กระทบต่อศาสนา
               -  ช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาต่างๆ
              3.3  สถาบันพระมหากษัตริย์
               -  ต้องร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ด้วยใจจริง
               -  ช่วยเผยแพร่ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
               -  ร่วมกันปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               -  ช่วยกันป้องกันภัยและความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
               -  ร่วมกันประกอบความดีในวันสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
              4.  ด้านการทหารและการป้องกันประเทศ
                กองทัพสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม โดยการทำประชาธิปไตยให้เป็นจริงทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น การขจัดอิทธิพลมืด อันธพาลท้องถิ่น และการให้ความรู้ทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นต้น
              รวมความแล้วปัญหาต่างๆ ภายในชาตินั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาได้ตามแนวทางดังกล่าวมาโดยย่อนั้น ประการสำคัญเราต้องแก้ปัญหาทางการเมืองให้ได้ก่อน จึงจะสามารถลดเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมได้ ทั้งนี้เพราะระเบียบปฏิบัติกฎหมายและการควบคุมต่างๆล้วนอยู่ในอำนาจทางการเมืองทั้งสิ้นนั่นเอง
ข้อเสนอแนะของกลุ่มนักศึกษาในการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ศึกษา
1.เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรมให้เยาวชน ชุมชน โดยผ่านทางตัวแทนของชุมชน โรงเรียน และสื่อต่างๆ
2. จัดกิจกรรมให้ชุมชนแต่ละชุมชนมีความสามัคคี ชุมชนจะได้เข้มแข็ง และได้ช่วยกันอบรมสั่งสอนบุตรหลานของตน
3. ชุมชนทุกชุมชนให้ความร่วมมือกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแลชุมชนของตน

บทสรุป

ปัญหาอาชญากรรม

             ปัญหาหนึ่งซึ่งได้เห็นอยู่แทบไม่เว้นแต่ละวันก็เห็นจะได้แก่ ปัญหาอาชญากรรม  ในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง  ปัญหาอาชญากรรม นั้น หากมีมากในสังคมใดสังคมนั่นย่อมมีแต่ความปั่นป่วน วุ่นวาย ความสงบสุขของสังคมนั้นย่อมไม่มี ประชาชนในสังคมนั้นย่อมขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลักษณะของสังคมเช่นนี้เราเรียกว่า สังคมตามยถากรรม
               หากเราพูดกันในระดับ รัฐ เราก็แบ่งรัฐออกเป็น 2 แบบ คือ รัฐสวัสดิการ  ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า เวลแฟร์ สเตต (Welfare State) และ รัฐตามยถากรรม เรียกว่า เลซเซอร์ แฟร์ สเตต” (Laissez faire State)
              รัฐสวัสดิการ  หมายถึง  ประเทศที่มีการปกครองและการบริหารบ้านเมือง ทำให้ประชาชนมีสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สิน  จะเคลื่อนไหวไปมาไหนก็มีความปลอดภัยไม่ต้องเสี่ยงภัยตามยถากรรม การดำรงชีวิตประจำวัน รัฐบาลมีค้ำประกันในด้านปัจจัย 4 อันเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตกล่าวคือ
               -รัฐจะรับผิดชอบให้ประชาชนพลเมืองมีอาหารการกินอย่างเพียงพอแก่การดำรงชีวิต
               -รัฐจะรับผิดชอบให้ประชาชนพลเมืองมีเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มโดยทั่วถึงกันไม่ขาดแคลน
               -รัฐจะรับผิดชอบให้ประชาชนพลเมืองมีที่อยู่อาศัยหลับนอนทั่วถึงกันทุกคน ไม่ต้องนอนข้างถนน  
               -รัฐจะรับผิดชอบให้การรักษาพยาบาล เมื่อประชาชนเกิดมีโรคภัยไข้เจ็บ โดยบริการให้ทั่วถึงกัน และพร้อมกันนี้รัฐจะรับผิดชอบในความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองทั้งมวลด้วย ส่วน รัฐตามยถากรรม นั้น เป็นไปในทางตรงกันข้าม คือ
               รัฐไม่รับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น พลเมืองของรัฐจะมีกินหรือไม่มีกินก็ได้ ถึงฤดูหนาวอาจพบประชาชนนอนหนาวตายอยู่ที่ไหนก็ได้ ขณะเดียวกันผู้คุมอำนาจรัฐและพวกพ้องจะมีความอบอุ่นอยู่รอดปลอดภัยใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย หรูหราและสะดวกสบาย
                ใครไม่มีที่อยู่อาศัยก็ต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง   อาจต้องนอนตามสถานีรถไฟ สะพานลอย เป็นต้น เมื่อถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หากไม่มีเงินรักษาพยาบาลอาจต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับความเจ็บไข้เป็นระยะเวลายาวนาน และเสียชีวิตเร็วกว่าที่ควรจะเป็น
                 ที่สำคัญซึ่งควรสังเกตก็คือ ทุกวันนี้ประเทศไทยจัดเป็น รัฐแบบไหน กันแน่ เป็น รัฐสวัสดิการ หรือ รัฐตามยถากรรม
                 รัฐสวัสดิการ มักเป็นรัฐที่กาลังพัฒนาหรือพัฒนาแล้ว ส่วน รัฐตามยถากรรม มักเป็นรัฐด้อยพัฒนาทั้งหลาย  ประชาชนไม่มีสวัสดิภาพในการดำรงชีวิต ไม่มีมาตรการป้องความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน     
ทุกวันนี้ คนไทยกำลังเผชิญกับปัญหาอาชญากรรมอย่างหนักทีเดียว เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ
4.             ปัญหาอาชญากรรมที่กระทำต่อชีวิตและทรัพย์ ทุกวันนี้ไม่ว่าเราจะอยู่บ้าน หรือเดินทางไปไหนก็ตาม  ปัญหาอาชญากรรมจะติดตามอยู่แทบทุกฝีก้าว นอนอยู่ที่บ้านก็อาจถูกชิงทรัพย์แล้วฆ่าในวันไหนก็ได้ ยิ่งต้องเดินทางยิ่งไม่มีความปลอดภัยเอาเลย
5.             หากเป็นผู้หญิง อาจถูกข่มขืน แล้วฆ่าชิงทรัพย์ในเวลาเดียวกัน วันใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นเวลาอยู่บ้านหรือเวลาเดินทาง
6.             เพียงมองหน้ากันในลักษณะที่เรียกว่า สายตาไม่ต้องกัน เท่านั้นก็ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นได้
              ในสมัยก่อนเรามักพูดกันว่า ปัญหาอาชญากรรมเกิดจากความประมาท การไม่ระวังตัว เกิดจากความยากจนข้นแค้น และเกิดจากความไม่เอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
               แต่ทุกวันนี้ ไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว ทั้งๆ ที่ระมัดระวังตัวอยู่เสมอ อาชญากรหาลู่ทางประกอบอาชญากรรมได้ ทั้งๆที่ต่างคนต่างก็ร่ำรวย ก็หาทางฆ่ากันได้ และทั้งๆ ที่จัดเจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครองอย่างดี เจ้าหน้าที่เองก็ยังเจอปัญหาอาชญากรรมได้
                ประเทศไทยจัดเป็นประเทศหนึ่งที่มีปัญหาอาชญากรรมมากที่สุดเกือบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นประเภทลักขโมย ฉกชิงวิ่งราว จี้ปล้น จับตัวไปเรียกค่าไถ่ ข่มขืนแล้วฆ่า ประทุษร้ายกันและกัน เมื่อเกิดความไม่พอใจกันและวางเพลิง ล้วนมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในทุกมุมเมืองของไทย ทั้งๆที่ประเทศไทยมีเศรษฐกิจดีพอสมควรแก่ฐานะในภูมิภาคนี้ ไม่ได้เป็นประเทศที่ยากจนข้นแค้นแต่ประการใด ดังนั้นปัญหาด้านเศรษฐกิจคงจะไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมชุกชุมเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากสาเหตุอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น
            1.  สาเหตุจากทางการเมืองการปกครอง  เวลานี้เรามีการปกครองในระบบประชาธิปไตยโดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไปเลือกผู้แทนด้วย ระบบซื้อเสียงขายเสียง อันเป็นต้นเหตุที่ทำให้ไม่ได้คนดีที่แท้จริงมาปกครองบ้านเมือง การดูแลบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยปลอดปัญหาอาชญากรรมเหมือนบางสมัย จึงไม่อาจมีได้
            2. ปัญหาคอร์รัปชัน  ก็เป็นเหตุสำคัญของปัญหาอาชญากรรม หากบ้านเมืองเต็มไปด้วยคนคด  คนโกงและคนเห็นแก่ได้โดยมิชอบธรรม ปัญหาอาชญากรรมย่อมเกิดขึ้นอย่างมากมายเป็นแน่แท้ซึ่งเราอาจพูดสั้นๆได้เลยทีเดียวว่า ถ้ามีการโกงกินกัน มีการคิดคดทรยศหักหลังกันมากในที่สุด ปัญหาอาชญากรรมย่อมมีมากในที่นั้นอย่างแน่นอน และ
             3.  ปัญหาสังคมเสื่อมโทรม  ก็เป็นต้นเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ทุกวันนี้สังคมไทยเราเกิดภาวะเสื่อมโทรมลงมาก เนื่องจากเรายอมรับเอาวัฒนธรรมประเพณีที่ไม่ดีไม่งามเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมประเพณีที่ไม่ดีไม่งามของไทยเรา
               เรายอมรับอิทธิพลทางวัตถุจากประเทศที่ผลิตจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมมาแทนที่อิทธิพลทางคุณธรรมประจำใจ ใครมีวัตถุมาก คนนั้นได้รับยกย่องในสังคมยิ่งกว่าคนที่มีคุณธรรม
               ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัสไว้เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ทำนองว่า  สิ่งที่เราถือว่าเป็นความผิดในอดีตแต่กลับได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องในปัจจุบัน สิ่งที่เรายอมรับว่าเป็นความถูกต้องเป็นความดีงามในอดีต กลับถูกปฏิเสธไปในยุคปัจจุบันนี้และฝากให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้จงช่วยกันแก้ไขด้วย
               ที่กล่าวมานี้คือต้นเหตุสำคัญของปัญหาอาชญากรรม และเมื่อทราบสาเหตุเช่นนี้แล้ว การแก้ไขต้องแก้ที่ต้นเหตุนี้เอง
               ในสาเหตุข้อแรก เป็นเรื่องการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งถือว่า ประชาชนปกครองตนเองโดยผ่านการเลือกตั้ง
               การปกครองระบอบนี้ เราต้องทำให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจปกครองบ้านเมืองอย่างแท้จริงว่าอำนาจนี้มีคุณค่าเหนือกว่าชีวิตและทรัพย์สินใดๆทั้งสิ้น ซึ่งบรรพบุรุษของเราแลกเอาไว้ด้วยเลือดเนื้อและชีวิต เป็นอำนาจที่จะซื้อขายกันด้วยเงินทองไม่ได้เลย ฉะนั้นเวลาเลือกตั้งต้องไม่มีการซื้อขายเสียงกันในทุกระดับ คนที่จะทำให้เป็นอย่างนี้ได้ก็คือ นักการเมืองที่นั่งอยู่ในสภาทุกวันนี้นั่นเอง  พวกเขาเหล่านี้จะมีบทบาทที่สำคัญมากทีเดียว และพร้อมกันนี้ก็ต้องขจัดปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือที่เรียกว่า ปัญหาคอร์รัปชัน ให้ได้อย่างจริงจัง
                 ทุกวันนี้ ปัญหาคอร์รัปชันมีอยู่แม้กระทั่งในกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอน คนที่ทำผิดที่ประกอบปัญหาอาชญากรรมกลับไม่ต้องรับโทษ เพราะเป็นคนมีเงินมีพวก ส่วนคนที่ไม่ได้ทำผิดกลับได้รับโทษแทนอย่างนี้ต้องขจัดให้หมดไป จึงจะลดปัญหาอาชญากรรมได้
                 ประการสำคัญที่สุดก็คือ ต้องฟื้นฟูสังคมของไทยให้ดีขึ้น ต้องคำนึงถึงคุณค่าของศีลธรรม และ สัจธรรม การที่จะทำให้คนทั่วไปคิดถึงศีลธรรมนั้น ผู้นำชุมชนทุกระดับต้องทำเป็นตัวอย่างตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงของบ้านเมืองเป็นต้นไป ต้องทำเป็นตัวอย่าง ต้องเป็นผู้มีศีลธรรม ต้องมี สัจจะ  แล้วคนอื่นจึงจะมีศีลธรรม มี สัจจะ และมีธรรมะในการดำรงชีวิตตามไปด้วย และเมื่อนั้นปัญหาอาชญากรรมก็จะหมดไปเอง

เอกสารอ้างอิง

โกศล วงศ์สรรค์,ปัญหาสังคม กรุงเทพมหานคร :อมรการพิมพ์ ,2544 ,317 หน้า

สุพัตรา สุภาพ , ปัญหาสังคม กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2543

            http://www.dhamma.mbu.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=43&Itemid=57
           

                จุฑารัตน์  เอื้ออำนวย  2551  สังคมวิทยา อาชญากรรม .สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

credit 1.นายสิทธิเวช         จิตรสายธาร  2.นางสาววชิรญาณ์   โสรัมย์  4.นางสาวนงค์นุช    ไชยดรุณ     3.นางสาวนกนภา   ชิณโท